ไดออกซิน
( Dioxins) |
|
|
คำว่า dioxin อาจใช้เรียกเฉพาะ
2,3,7,8-tetrachlorodibenzo-p-dioxin (อาจเรียกย่อว่า
2,3,7,8-TCDD หรือ TCDD) ซึ่งเป็น isomer หรือ congener
ของ dioxins ที่มีพิษมากที่สุด ส่วน dioxins
โดยทั่วไปหมายถึง (poly)chlorinated dibenzo-p-dioxin
(PCDDs) ซึ่งมี 75 congener หรืออาจรวมเอา
polychlorinated dibenzofurans (PCDFs) 135 congener และ polychlorinated biphenyls
(PCBs) 219 congener ด้วย |
polychlorinated dibenzofurans (PCDFs)
polychlorinated biphenyls |
dioxins
เป็นสารที่ถูกค้นพบครั้งแรกในกระบวนการผลิต
trichlorophenol
ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการผลิตสารกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
โดยปกติแล้ว dioxin
บริสุทธิ์จะไม่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ
dioxin
บริสุทธิ์ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปีค.ศ.
1968 มีลักษณะเป็นผลึก (micro-crystalline) สีขาว
ไม่ละลายในน้ำ
ละลายได้ในตัวทำละลายบางชนิด dioxins ยังถูกสร้างขึ้นในกระบวนการเผาไหม้ กระบวนการในอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิด dioxins เช่น การเผาขยะ การหลอมโลหะ การเผาถ่านหิน ไม้ และน้ำมัน การผลิตสารเคมี การฟอกสีในอุตสาหกรรมกระดาษ dioxins กระจายอยู่ทั่วไปในน้ำ อากาศ และดิน พบในดินมากที่สุด dioxins สลายตัวได้น้อยมาก จึงตกค้างในสิ่งแวดล้อม เป็นเวลานาน สารเคมีที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมอีก 2 ชนิดคือ PCDFs และ PCBs ทำให้เกิดการเป็นพิษได้เช่นเดียวกับ TCDD ได้แก่ พิษต่อผิวหนัง ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ ระบบต่อมไร้ท่อ ตัวอ่อนพิการและทำให้เกิดมะเร็ง แหล่งที่มาของ dioxins
การได้รับเข้าสู่ร่างกาย dioxins เข้าสู่ร่างกายได้โดยถูกดูดซึมทางผิวหนังและทางปาก คนและสัตว์ได้รับ dioxins จากสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน อากาศ น้ำ รวมทั้งจากอาหาร มาเป็นเวลานานแล้ว มีการประมาณว่า 90% ของ dioxins ที่คนได้รับมาจากอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์นม ร่างกายคนและสัตว์สามารถกำจัด dioxins ออกได้บางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในตับและไขมัน ร่างกายคนและสัตว์ขับ dioxins ออกทางน้ำนมและผ่านรกได้ half life ของ dioxins ในคนมีค่าประมาณ 2 6 ปี ซึ่งนานกว่าในสัตว์มาก |
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด Tolerable daily intake (TDI) ของ TCDD ไว้ที่ 1-4 pg TEQ ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน ผู้เชี่ยวชาญของ WHO ยังได้ประมาณว่าคนในประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ อาจได้รับ dioxins ในปริมาณ 2 6 pg TEQ ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวันอยู่แล้ว ข้อมูลทางพิษวิทยา dioxins ทำให้เกิดอาการเป็นพิษในสัตว์หลายชนิด ได้แก่ น้ำหนักลด เป็นพิษต่อตับ ผิวหนัง ทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบสืบพันธุ์ ตัวอ่อนพิการและทำให้เกิดมะเร็ง International Agency for Research on Cancer (1997) ได้จัด TCDD เป็นสารก่อมะเร็งในคนระดับ 1 (Class I carcinogen: know human carcinogen) การเกิดพิษเนื่องจาก dioxins dioxin กระตุ้นการสร้าง microsomal mixed function oxidase (MFOs) และ smooth endoplasmic reticulum ในเชลล์ตับและไต กระตุ้นการสร้าง hepatic d -aminolevulinic acid synthetase (d -ALAS) และ aryl hydrocarbon hydroxylase ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการ metabolism ของสารอื่นๆ ที่ร่างกายได้รับเข้าไป จากการศึกษาทางพิษวิทยา สรุปว่า dioxins เป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะหลายแห่ง ในสัตว์หลายชนิดทั้งในเพศผู้และเมีย มีการศึกษาพบว่า dioxins ไม่ได้สร้างพันธะ covalent กับ DNA และทำลาย DNA โดยตรง และ TCDD อาจไม่ได้เป็นตัว initiator ในการเกิดมะเร็ง กลไกการเกิดมะเร็งอาจเกิดจาก TCDD-Aromatic (Aryl) hydrocabon receptor (AhR) complex ความเป็นพิษของ dioxins มี dioxins
ประมาณ 30 congener เท่านั้นที่เป็นพิษ
congener ที่มีพิษมากที่สุด คือ 2,3,7,8 TCDD
มีการวัดค่าความเป็นพิษของ PCDDs, PCDFs
และ PCBs เทียบกับ TCDD
เพื่อแสดงค่าเป็น Toxicity equivalency factors (TEF)
ซึ่งหมายถึงปริมาณของ TCDD
ที่ทำให้เกิดการเป็นพิษเท่ากับปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์คล้าย
TCDD เช่น TEF ของ 1,2,3,7,8 PeCDD = 0.5 TEF ของ OCDD = 0.001
การรายงานปริมาณ dioxins รายงานเป็น
Toxicity equivalents (TEQ) ของ TCDD ซึ่งคิดได้จาก การเป็นพิษในคน คนงานในโรงงานผลิต chlorophenol และยากำจัดศัตรูพืชที่มี chlorophenol เป็นส่วนประกอบ ในช่วงปี 1950s แสดงอาการ chloracne อุบัติเหตุในโรงงานที่เมือง Seveso ประเทศอิตาลี ในปี1976 ทำให้เกิด dioxins ปนเปื้อนบริเวณรอบโรงงาน ทำให้คนงานแสดงอาการ chloracne ซึ่งอาการป่วยนี้หายไปในภายหลัง และไม่พบหลักฐานชัดเจนที่ชี้ว่าคนงานกลุ่มนี้แสดงอาการเป็นพิษ หรือเป็นมะเร็งเนื่องจาก dioxins ในเวลาหลายสิบปีต่อมา การตรวจวินิจฉัยการเป็นพิษเนื่องจาก dioxins ในสัตว์และคน 1.
จากอาการและรอยโรค 2.
การตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง ATSDR 1998. CDDs factsheet. [Online]. Available:
http://www.atsdr.cdc.gov/tfacts104.html |