หมากับงู

ผศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร

แม้ว่าหมากับงูจะมิใช่คู่อริกันมาแต่ปางก่อนเฉกเช่นพังพอนกับงูเห่าก็ตามที แต่ปรากฏการณ์หมาถูกงูกัดนั้น มีเกิดขึ้นอยู่ประปรายตลอดเวลา หนักเบาผิดแผกแตกต่างกันไปตามชนิดของงูที่กัด เบาๆ หน่อยก็พวกถูกงูไม่มีพิษ เช่น งูเขียวธรรมดากัดเอาแข้งขาหน้าบวมไป แต่ที่ซวยถึงชีวิตก็ต้องงูพิษแหละครับ ไม่ว่าจะงูแมวเซา งูเห่า ตลอดจนงูจงอาง โดนเป็นไม่ได้ตายลูกเดียว ถ้าคิดให้ดีอาจมีอีกกลุ่มก็คือ ไม่มีพิษภัยก็จริง แต่ทำให้ตายแล้วหายไป นั่นคือพวกงูกินหมา ได้แก่ งูเหลือม งูหลามไงละครับ ไม่เห็นแม้แต่ซาก

ส่วนใหญ่แล้วเรามักไม่พบเห็นงูกัดหมาคาตาหรอก snake1.gif (2668 bytes)แต่จะพบเห็นว่าเจ้าหมาน้อย ร้องลั่น แล้ววิ่งหนีออกมาจากพงหญ้าหรือที่รกๆ พร้อมกับแสดงอาการเดินสามขาบ้าง ขาบวม ขาเป๋ หรือหน้าตาบวมอลึ่งฉึ่ง กับมีบาดแผลเป็นรอยกัดพร้อมกับเลือดซึมๆ ท่านสามารถแยกแยะ ได้ว่าเป็นรอยกัดของงูพิษหรือไม่โดยสังเกตดูว่า ถ้าบริเวณบาดแผล เป็นรอยรูเล็กๆ 2 รูเคียงกัน เห็นเด่นชัดละก ็นั่นเป็นรอยเขี้ยวคู่บนของูพิษนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีรอยอย่างว่าแต่เห็นเป็นจุดเล็กๆ เรียงกันเป็นรูปตัวยู (U) ละก็เบาใจหน่อยเพราะไม่มีรอยรูเขี้ยวพิษ มันเป็นเพียงงูไม่มีพิษ

การปฐมพยาบาลก็ขึ้นกับว่าโดนงูประเภทใดกัดเอา ถ้าพวกไร้พิษท่านก็เพียงตัดขนบริเวณแผลถูกกัดใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ฯลฯ พร้อมกับให้ยาแก้ปวดกินสักหน่อย ขังให้นอนพักไม่นานก็หายเอง

snake1.gif (2668 bytes)แต่ถ้าเป็นงูพิษการปฐมพยาบาลจะต่างออกไป นั่นคือต้องป้องกันการแพร่กระจายของพิษงูตามกระแสโลหิตก่อน โดยการขันชะเนาะระหว่างบาดแผลกับหัวใจ ต่อมาก็ต้องถอนพิษ โดยการใช้ใบมีดที่สะอาด อาจเผาไฟสักหน่อยแล้วกรีดตามยาวเป็นแผลตื้นๆ บนรอยเขี้ยวที่พบ พร้อมกับรีดเอาเลือดและพิษงูที่ ตกค้าง ออกมาทางปากแผลที่ขยายไว้แล้ว บางตำราแนะ ให้ใช้ปากดูดเอาพิษงูออก อย่างที่ทำกับคน ถูกงู พิษกัดซึ่งทำกับหมาก็ได้ แต่ท่านที่จะเลือกใช้ วิธีนี้ต้องแน่ใจว่าไม่มีบาดแผลในปาก ตลอดจนไม่กลืนพิษงูลงกระเพาะนะครับ ไม่งั้นเห็นทีคนช่วยจะตายแทนหมาเป็นแน่แท้ จากนั้นจัดให้หมานอนราบอยู่ในความสงบ เพื่อลดความตื่นเต้นมิให้ร่างกายสูบฉีดพิษงูไปตามกระแสโลหิตอย่างรวดเร็วกว่าที่ควร แล้วรีบนำส่งสัตวแพทย์อย่างเร่งด่วน

โอกาสรอดตายของเจ้าหมาน้อยจะมีสูงกว่าการปฏิบัติอย่างไม่ถูกวิธี

กลับไปหน้า "คอลัมน์สัตว์เลี้ยง"