สาระความรู้เรื่อง
…..สัตว์ป่า
 

สัตว์ป่าของไทย

นายสัตวแพทย์อลงกรณ์  มหรรณพ

วันอาทิตย์ที่  3  มกราคม  2542


สัตว์ป่ามีความหมายอย่างไรต่างกับสัตว์บ้านตรงใหน
?   

                        สัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับล่าสุดปีพ.. 2535 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2535 ให้ความหมายได้ว่า สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง โดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้ความหมายรวมถึงไข่ของสัตว์สงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองฉบับเก่าคือ ฉบับ 2503 สัตว์ป่าคุ้มครองจะมีชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 แต่ฉบับใหม่จะรวมหมดเลยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอย่างเดียว  
สำหรับสัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งมีทั้งสิ้น
15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูน สำหรับสมันเชื่อกันว่าสสูญพันธ์ไปแล้วจากโลกประมาณ 80 ปีแล้ว ส่วนสัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงซึ่งปัจจุบันนี้มีอยู่มากกว่า 300 ชนิดขึ้นไปกฎกระทรวงก็ออกมาในแต่ละปี ก็จะกำหนดมาว่าตัวใหนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบ้าง

             สัตว์ป่าในบ้านเราในระยะ 10 ปีทีผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?

                        จำนวนของสัตว์ป่า ค่อนข้างที่จะน่าวิตกเนื่องจากการบุกรุกทำลายป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อยู่หรือบ้านของสัตว์ป่านี่เรายังไม่สามารถควบคุมการบุกรุกทำลายป่าไม้ได้ และประกอบกับการมีการล่าสัตว์ป่าโดยผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการเอาอวัยวะมาทำเป็นยาและสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีการเข้าใจผิดไม่ว่าจะเอาลูกสัตว์มาขายโดยหลอกประชาชนว่าเป็นสัตว์ที่เชื่องบ้าง เป็นสัตว์ที่หายากบ้าง สิ่งเหล่านี้เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ไปทำลายป่า

             สัตว์อย่างอื่นนอกจากสมันแล้วมีอะไรอีกบ้างที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือว่าหายากเต็มทีแล้วในประเทศไทย

                ในปัจจุบันที่หายาก ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ซึ่งมีถิ่นกำเนิดหรือถิ่นอาศัยอยู่ที่        บึงบอระเพ็ด ซึ่งปัจจุบันบึงบอระเพ็ดที่บริเวณนั้นก็มีการเปลี่ยนสภาพไปบ้าง ทำให้นกพวกนี้ซึ่งเป็นนกนางแอ่นชนิดหนึ่งไม่สามารถที่จะอยู่ได้  อีกอันที่น่าเป็นห่วง ก็คือ แรด กระซู่ และกูปรีพวกนี้ปัจจุบันไม่ได้รับข่าวเลย ทำให้น่าเชื่อว่าพวกนี้ใกล้จะสูญพันธุ์มาก และได้รับทราบจากพวกพรานที่เข้าไปล่าสัตว์ว่าไม่เคยเห็นสัตว์พวกนี้เลยในป่าเมืองไทย ยกตัวอย่างเช่นกระซู่ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ และบางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ ก็เห็นแต่เพียงรอย ไม่สามารถที่จะเห็นตัวจริงได้ เราก็ยังไม่ยืนยันว่ายังมีหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย ส่วนกูปรี ซึ่งอยู่ทางด้านบุรีรัมย์ ติดกับชายแดนด้านกัมพูชา ซึ่งทางกัมพูชา มีสงคราม ทำให้สัตว์พวกนี้ถูกฆ่าหรือว่าสัตว์ถูกกับระเบิดล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่ากูปรี ไปหลงเหลืออยู่ที่ลาวหรือเวียดนาม แต่ในประเทศไทยคิดว่าหายาก หรือว่าแทบจะไม่มีเลย

             ในเมื่อกระซู่หรือสัตว์ที่บอกว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว พวกพรานทราบได้อย่างไรว่าเห็นรอยแล้วบอกว่าเป็นกระซู่?

                พรานจะมีประสบการณ์ในการตามรอยสัตว์ป่า การที่จะไปยิงสัตว์ป่าหรือไปล่าสัตว์ป่า พวกพรานนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ของเขา คือการดูร่องรอยการกินอาหาร เช่น เปลือกต้นไม้ ใบไม้ และดูร่องรอยบนดิน คือลักษณะรอยเท้าของสัตว์พวกนี้เค้าจะชำนาญมากในรอยของพวกกระซู่ หรือพวกแรด นี้มีลักษณะร่องรอยคล้ายพวกสมเสร็จเหมือนกัน แต่เขาจะดูรอยที่ฝังลงไปในโคลน หรือว่ารอยย่ำของฝ่าเท้าที่ลงไปในโคลน ว่ามีขนาดหนักหรือเบากว่า

             พวกสมเสร็จเก้งหม้อพวกนี้ก็เหลือน้อยเต็มทีแล้วใช่หรือไม่?

                สมเสร็จ เก้งหม้อ ก็เหลือน้อยมากสมเสร็จ ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ และในถิ่นบางถิ่นคนก็ล่าเอาเนื้อ สมเสร็จเป็นสัตว์ที่ไม่มีอาวุธต่อสู้เลยหนีอย่างเดียว ในสภาพธรรมชาติเป็นเหยื่อของพวกเสือโคร่งหรือว่าเสือดาว และเวลาเจอศัตรูพวกนี้จะวิ่งหนี แล้วก็หาแหล่งน้ำ หรือแหล่งโคลนลงไปดำหลบภัยอันตราย แต่ว่ามาเจอกับมนุษย์ที่จะยิงล่าอย่างเดียว ก็จะสู้กระสุนปืนไม่ได้ บางทีก็จะยิงตัวแม่เพื่อจะเอาตัวลูก ซึ่งลูกที่เกิดใหม่ก็จะมีลักษณะคล้ายแตงไทย มีลักษณะสวยงามมาก จะเอามาขายประชาชน

             แสดงว่าก็ยังมีคนนิยมเลี้ยงสัตว์ป่าพวกนี้อยู่ใช่หรือไม่?

                        ยังมีประชาชนนิยมเลี้ยงสัตว์ป่าพวกนี้อยู่ แต่ถ้าเทียบกับอดีต ก็ลดน้อยลงแต่ยังไม่หมดไปจากเมืองไทย

             มีสัตว์ป่าอะไรบ้างที่คุณหมอเคยได้รับแจ้งมา ที่ประชาชนยังหาซื้อมาเลี้ยงอยู่?

                สัตว์ป่าที่เป็นที่นิยมอันดับแรก ๆ เลยก็เป็นพวกลูกชะนี ลิงค่าง หรือว่าลิงลม หรือจำพวกหมีควาย หรือหมีหมา หรือพวกลูกแมวดำ หรือลูกชะมด อีเห็น โดยเฉพาะลูกค่าง ซึ่งตอนเกิดใหม่ ๆ จะมีสีทองก็เอามาหลอกขายกันว่าเป็นลิงเผือกบ้าง ค่างเผือกบ้าง และสามารถที่จะโก่งราคาได้ในราคาที่สูง

              ถ้าหากตอนนี้ยังมีคนเลี้ยงสัตว์เหล่านี้อยู่ หมายถึง ชะนี อะไรเหล่านี้ มีคำแนะนำหรือไม่?

ถ้ายังมีสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใหนควรจะรีบแจ้งให้กรมป่าไม้ หรือว่าป่าไม้จังหวัด

ทราบเพื่อที่จะได้ทำทะเบียนประวัติไว้ หรือว่าแนะนำให้เจ้าของสัตว์ป่าควรปฏิบัติอย่างไร เราไม่ควรที่จะไปหลบเลี่ยง หรือว่าเอาสัตว์เหล่านั้นหลบไปเพราะเกิดอันตรายต่อสัตว์ ส่วนในการกรณีที่มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงสัตว์ก็ควรจะปรึกษาคนที่เชี่ยวชาญในการเลี้ยงสัตว์ป่าหรือว่าโทรมาเพื่อปรึกษากับพวกหมอก็ได้ว่าควรจะเลี้ยงอย่างไร

             ลิงหรือชะนี ดุ กัดคน มีอันตรายอย่างนี้ควรทำอย่างไร?

                    สำหรับเลี้ยงกรณีจนโตแล้ว แล้วมีความผูกพันเป็นลูกเป็นหลานไปแล้ว จะมีปัญหาเรื่องเขี้ยวของสัตว์พวกนี้ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างยาวและคม ก็จะมีการโทรมาปรึกษาว่าควรทำอย่างไร ที่นี้ก็อยากจะแนะนำว่าถ้าจะเลี้ยงไปจนตาย ถ้าอยากจะตัดเขี้ยวก็ต้องแจ้งเจ้าของก่อนว่าอธิบายให้เจ้าของฟังว่า ต้องเลี้ยงเจ้าตัวนั้นจนกว่าจะเสียชีวิต หรือว่าแก่ตายไปเพราะว่าเมื่อตัดเขี้ยวไปแล้ว โอกาสที่จะปล่อยกลับคืนสู่ป่า การหาอาหาร การต่อสู้กับฝูงลิงป่าทำไม่ได้ก็จะแพ้ และอาจถูกกัดถึงตายได้ เพราะฉะนั้นเจ้าของบางคน ซึ่งรักพวกลิง พวกชะนีพวกนี้มาก เราจะแนะนำว่าถ้าคุณอยากจะตัดเขี้ยวคุณก็ต้องเลี้ยงสัตว์ป่าตัวนี้ไปจนกว่าจะเสียชีวิต ปัญหาก็คือว่าบางคนมักง่าย หรือว่าไม่รู้ ก็เอาคีมตัดไปที่เขี้ยว ทั้ง 4 เลย ข้างบน 2 ข้างล่างซ้าย 2 โดยไม่รู้ว่าถ้าตัดไปแล้วเนี่ย โพรงของประสาทหรือว่าโพรงของเส้นเลือดจะโผล่ออกมา เหมือนคนที่ฟันผุ ขนาดคนเราฟันผุซี่เดียวยังปวดมาก ชะนีหรือพวกค่างเจอเข้าไป 4 ซี่ ก็ปวดแบบนั้นตลอดชีวิต โดยไม่มีการไปหาหมอ หรือว่าไปอุดฟันแบบคนได้ ฉะนั้นในการที่จะตัดเขี้ยวทั้ง 4 ของพวกลิง ชะนี ค่าง พวกนี้เราจะแนะนำเจ้าของว่า ทางสัตวแพทย์จะวางยา ยาสลบให้คุณต้องติดต่อกับทันตแพทย์ เพื่อที่จะใช้วิธีการตัด โดยให้ทางทันตแพทย์ตัด แล้วก็ใช้สิ่งทีทอุดลงไปในโพรงของรากฟันเหมือนฟันคนต้องอุดให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทของฟันเพื่อที่ไม่ให้สัตว์มีอันตราย ไม่เจ็บปวดไปตลอดชีวิต แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเลี้ยงสัตว์ตัวนั้นจนกว่าเขาจะตายไปเอง ห้าม เอาไปปล่อยในป่า

             อย่างบางกรณีที่ผู้เลี้ยงนำสัตว์พวกนั้นมาเลี้ยงที่มันยังเล็ก ๆ ก็มีความน่ารักแต่พอเลี้ยงไปซักระยะหนึ่ง บางคนก็บอกว่าเลี้ยงไม่ไหวแล้ว บางทีมันก็ดุตามธรรมชาติ แล้วก็ไม่อยากเลี้ยงแล้วตอนนี้ควรทำอย่างไรดี ให้ติดต่อที่ใหนดี?

                        ตอนนี้มีเยอะมาก ก็ตอนที่เป็นลูกสัตว์ก็จะน่ารักมาก ไม่ว่าพวกลิงหรือพวกชะนี หรือพวกหมี แต่พอโตขึ้นเอาไม่ไหวจะกัดเจ้าของ หรือว่าเพื่อนบ้าน ก็จะเอามาบริจาค สถานที่ที่บริจาคส่วนมากจะเป็นสวนสัตว์ ไม่ว่าที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัดและก็ทางกรมป่าไม้

            อย่างพวกหมีควาย สัตว์ใหญ่

                        พวกนี่ต้องไว้จนตาย พวกหมีควายพวกเสือโคร่ง

         ต้องตัดเขี้ยวเหมือนกันหรือไม่พวกหมี?

                ไม่ต้องตัดในกรณีที่เลี้ยงจะตัดเล็บ 2 ขาหน้า ซึ่งการตัดเล็บของพวกสัตว์กินเนื้อจะทำให้ไปตัดอวัยวะในการใช้ต่อสู้ศัตรูหรือในการหาอาหารหมดไปเลยเพราะฉะนั้นต้องเลี้ยงเค้าไป จนกว่าเค้าจะเสียชีวิต

             เล็บพวกหมีเวลาตัดแล้วจะไม่ยาวออกมาใหม่เหมือนเล็บคนหรือไม่?

                เวลาตัดก็จะตัดตรงโคนของเล็บเป็นส่วนเกาะระหว่างเล็บซึ่งเป็นเนื้อ จะเรียกคอราติน ลักษณะคล้ายเล็บคน ถ้าเทียบกับเล็บคนก็ตัดโคนเล็บเลย สิ่งที่ยึดระหว่างตรงเล็บกับตรงข้อ ตรงนั้นเราตัดออกซึ่งการตัดออกนี้จะเสียเลือดมาก เพราะฉะนั้นต้องวางยาสลบแบบให้หลับ 100% และเมื่อตัดแล้วก็จะไม่งอกออกมาขนจะคลุม อยู่บริเวณที่เคยเป็นเล็บ ซึ่งหมืเล็บมันจะไม่หดกลับแบบของเสือเพราะฉะนั้นก็จะตัดออกไป โดยที่เราไม่ต้องดึงเล็บออกมา หลังจากที่สลบแล้วก็ให้เล็บอยู่แบบนั้นแล้วก็ตัดตรงโคนเล็บ ส่วนในรายของสัตว์พวกเสือ เล็บจะหดกลับอยู่ในอุ้งตีน เพราะฉะนั้นเวลาวางยาสลบเราก็ต้องดึงออกมาให้สุดแล้วก็ตัดตรงเอ็นแล้วก็เนื้อที่ยึดโคนเล็บออกไปให้หมด

                        รู้สึกว่ายุ่งยากเหมือนกัน และอย่างแมวดาวล่ะ?

                แมวดาวเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเสือดาว แต่รูปร่างและน้ำหนักจะต่างกันมาก แมวดาวโตเต็มที่น้ำหนักไม่เกิน 35 กิโลกรัม ส่วนเสือดาวจะประมาณ 30 กิโลกรัม บางทีพ่อค้าสัตว์ก็เอาแมวดาวมาหลอกขายประชาชน หลอกว่าเป็นลูกเสือดาวบ้าง เพื่อที่จะดึงราคาให้สูงขึ้น คนที่ไม่รู้ก็ซื้อไป ซึ่งเมื่อซื้อแล้วตอนแรกๆ ก็ทนไหว พอต่อๆไป ก็ทนไม่ไหวเนื่องจากปัสสาวะและอุจจาระมันค่อนข้างกลิ่นรุนแรงมาก ซึ่งสัตว์พวกนี้กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีสารประกอบพวกไนโตรเจนค่อนข้างสูง ฉะนั้นเวลามันถ่ายทอดออกมาจะมีกลิ่นเหม็นมากซึ่งจะเป็นโดยธรรมชาติ

            ตอนนี้ที่เห็นคนนิยมเลี้ยงกันโดยแน่ใจว่าเป็นสัตว์ป่าหรือไม่ อีกัวน่า คงไม่ใช่สัตว์ป่า  เมืองไทย?

                เป็นสัตว์ป่าของทางอเมริการใต้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง และมีการเพาะพันธุ์ที่จากต่างประเทศค่อนข้างเยอะ และส่งเข้ามาขายที่ประเทศไทย โดยนำเข้ามาใส่ถุงมาในลักษณะที่เป็นตัวเล็ก ๆ ตัวสีเขียวจัด แต่พอโตขึ้นมีหนามขึ้นที่คอหรือว่าสีบริเวณลำตัวเปลี่ยนไป ตัวจะใหญ่เทอะทะแล้วก็ไม่ค่อยน่ารักเหมือนตอนที่เป็นตัวเล็ก ๆ จุดที่ต้องระวังเรื่องอีกัวน่า ก็คือเรื่องอุจจาระและปัสสาวะ ซึ่งจะมีเชื้อโรคตัวหนึ่ง เชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งที่จะสามารถติดต่อมาถึงคนได้ โดยผ่านทางอาหารและน้ำ ซึ่งชื่อว่าเชื้อ ซัลโมเนลล่า ปกติแล้วในต่างประเทศกลัวกันมากเพราะประชาชนหรือทางยุโรปหรือเมริกา ระบบลำไส้หรือระบบทางเดินอาหารจะมีความต้านทางหรือทนต่อเชื้อนี้น้อยกว่าคนทางเอเซีย แต่สำหรับคนทางเอเซีย หรือคนไทยเรานี่มีความต้านทานต่อเชื้อนี้เข้าไปจำนวนมากโดยเราไม่ระวังเรื่องความสะอาด ขณะที่บริโภคน้ำ หรือบริโภคอาหารก็จะติดเชื้อนี้เข้าไป ก็สามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง และทำให้เกิดการเสียน้ำ อาจจะอันตรายถึงชีวิต

         มีคำแนะนำสำหรับคนที่กำลังเลี้ยงอีกัวน่าอยู่หรือไม่?

                สำหรับรายที่กำลังเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานประเภทนี้อยู่ การที่จะเอามาเล่นก็ไม่ได้ห้าม แต่ว่าหลังจากเล่นเสร็จแล้วควรจะทำความสะอาด ร่างกายหรือล้างมือให้สะอาดเสียก่อนที่จะบริโภคอาหารหรือน้ำและตัวสัตว์ก็ควรใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดอ่อนละลายน้ำแล้วชุบผ้าเช็ดลำตัวทุกวัน และมีการทำสะอาดกรงทุกวัน บริเวณกรงที่เลี้ยงควรจะถูกแสงแดดอย่างเต็มที่เพื่อที่จะฆ่าเชื้อโรคพวกนี้ให้ได้หมด

             ถ้าพบเห็นการซื้อขายสัตว์ป่าควรทำอย่างไรดี?

                ถ้าเราเห็นมีการซื้อขายสัตว์ป่าให้เรานึกในใจเลยว่าเป็นการผิดกฎหมาย เราสามารถที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ให้เข้าไปตรวจสอบหรือจับกุมได้ทันที

             ถ้ามีสัตว์ป่าอยู่ในครอบครองก่อนที่พระราชบัญญัติสัตว์ป่าสงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอบปี พ.. 2535 หมายถึงเลี้ยงไว้ก่อนพระราชบัญญัติ ควรจะทำอย่างไรดี?

                ควรจะแจ้งกรมป่าไม้หรือกรมประมง เพื่อที่จะได้ทำให้สัตว์ป่าตัวนั้นถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งโดยทั่วไปเท่าที่ทราบทางกรมป่าไม้หรือกรมประมงก็จะอนุญาตให้เจ้าของเดิมเลี้ยงสัตว์ตัวนั้นไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือว่าครอบครัวไปจนกว่าสัตว์ตัวนั้นจะเสียชีวิต แต่หลังจากสัตว์ตัวนั้นเสียชีวิตแล้วห้ามไปหามาเลี้ยงใหม่คือ หมดแล้วตัดตอนไปเลย ไม่ต้องไปหาสัตว์ป่าตัวอื่นมาเลี้ยงต่อ

             สัตว์ป่าสงวนมีอยู่ทั้งหมด 15 ชนิด ไม่ทราบว่าทางส่วนราชการมีการจะเพิ่มจำนวนของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองอีกบ้างหรือไม่?

                        ในส่วนขององค์การสวนสัตว์เองก็พยายามที่จะเพิ่มจำนวนพวกนี้ ซึ่งบางอย่างบางชนิดเราก็สามารถที่จะเพิ่มจำนวนได้ แต่ว่ายังไม่มากนัก เช่น สมเสร็จ นกกระเรียน ละมั่ง และพวกเก้งหม้อ สามารถที่จะผสมพันธุ์และก็ขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ได้ แต่ว่าถ้าจะให้ได้ผลสำเร็จดี ก็คือต้องไปขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากพอที่จะเอาไปขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากพอที่จะเอาไปปล่อยเข้าไปสู่ธรรมชาติเดิม ปล่อยสู่ป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดได้อย่างเดิม

            บางคนไปเจอสัตว์ที่มันค่อนข้างจะประหลาด คือไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนักทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าเป็นสัตว์สงวนหรือไม่ต้องแจ้งใคร?

                ผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นจาก กรมประมงกรมป่าไม้หรือองค์การสวนสัตว์ก็ได้อาจจะโทรเข้ามาบอกลักษณะก็สามารถบอกได้คร่าว ๆ ได้ หรือว่าอาจจะถ่ายรูปภาพและส่ง รูปภาพมาให้ดูก็ได้

             ช้างนี่ถือว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่?

                เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่แปลกหน่อยก็คือว่าช้างป่า เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในความรับความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ส่วนช้างบ้านที่เราเห็นเดินเร่ร่อนเป็นสัตว์พาหนะ ตามพระราชบัญญัติปี พ.. 2482 อยู่ในความควบคุมดูแลของกรมปศุสัตว์ ปัจจุบันมันอยู่ 2 สถานะ

             ตลอดปี 2541 ที่ผ่านมาตลอดทั้งปีมีช้างกี่เชือกที่มาขอรับการรักษา?

                ในรายของช้างบ้าน ปี 2541 ได้ทำการช่วยเหลือไปทั้งหมด 288 เชือก รอดทั้งหมด 285 เชือก ตาย 3 เชือก ถ้าเราคิดเป็นมูลค่าช้างเฉลี่ยแล้วตัวละประมาณ 1 แสนบาท คือช้างโดยทั่วไปราคาจะประมาณ 6 หมื่น – 5 แสนบาท แต่เราตีว่าตัวละแสนบาท เราก็สามารถประหยัดงบประมาณของรัฐบาลไปได้แปดล้านห้าแสนบาทในปี 2541 ถ้าคิดเป็นราคาของสัตว์ อยากฝากคติข้อคิดเตือนในในปีใหม่ว่ามีอยู่ 4 ไม่คือ ไม่เลี้ยง ไม่ล่า ไม่ฆ่า ไม่กินสัตว์ป่า สัตว์ป่าก็จะไม่สูญพันธุ์  

 

ลิง

นายสัตวแพทย์อลงกรณ์  มหรรณพ

วันอาทิตย์ที่  30  มกราคม  2543


ลิงไทยมีกี่ชนิด อะไรบ้าง ชนิดไหนดุร้าย
?

                ลิงไทยมี 5 ชนิด คือ ลิงแสม ลิงกัง ลิงวอก ลิงวอกภูเขา เมื่อเกิดต้องเกาะหน้าอกและอยู่กับแม่จนถึงอายุ 2-3 ปี

                        ลิงไทยทั้ง 5 ชนิด เป็นสัตว์ป่าที่มีนิสัยดุร้าย เมื่ออายุตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะตัวผู้จะมีนิสัยดุร้ายกว่าตัวเมียอาวุธที่สำคัญคือเขี้ยวทั้ง 4 เขี้ยว ซึ่งอยู่ที่กรามบน 2 เขี้ยว กรามล่าง 2 เขี้ยว

             ลิงไทยดังกล่าวทั้งหมดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง?

                        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปีพุทธศักราช 2535 ผู้ใดล่าบริโภค หรือมีไว้ในครอบครองต้องโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

                        ลิงกังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอบที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้

             โรคติดต่อที่สำคัญในลิงมีอะไรบ้าง?

                1. วัณโรค ส่วนใหญ่เชื้อจะติดต่อทางทางเดินหายใจ

                        2. โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อถึงมนุษย์โดยการกัด

                        3. โรคไวรัสเอสไอวี เกิดจากเชื้อไวรัสที่ใกล้เคียงกับเอชไอวี ลิงพวกนี้จะมีประวัติว่าเคยคลุกคลีกับลิงจากแอฟริกาหรือลิงในห้องทดลอง

                        4. โรคพยาธิในทางเดินอาหาร เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเข็มหมุด พยาธิเส้นม้า พยาธิปากขอ ซึ่งสามารถติดต่อมาถึงมนุษย์ได้ทุกชนิด

                        5. โรคอุจจาระร่วง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซัลโมเนลล่า อีโคไลชิเกลล่า ซึ่งติดต่อมาถึงมนุษย์โดยการกิน ทำให้เกิดอาการท้องเสียลลำไส้อักเสบ บางรายท้องร่วงขนาดหนักทำให้ร่างกายขาดน้ำเฉียบพลันก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

                        6. บาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอ๊อกซิเจนทำให้เกิดการชักเกร็ง

            เมื่อถูกลิงกัดควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

                เมื่อถูกลิงกัดอย่างกระชากให้ใช้วัสดุที่แข็ง เช่น ไม่ ปากกา ง้างปากออกเพื่อที่จะไม่ให้เกิดบาดแผลฉีกขาด กระรุ่งกระริ่ง เสร็จแล้วทำความสะอากบาดแผลด้วยสบู่ น้ำสะอาด แอลกฮอล์ และทิงเจอร์ไอโอดีน แล้วรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยักและวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ส่วนลิงตัวที่กัดควรกักไว้ดูอาการ 10 วัน เพื่อดูว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่

             ถ้าพบลิงอาละวาดหรือหลุดจากกรมหรือโซ่ขาดควรปฏิบัติอย่างไร?

                        เมื่อพบลิงหลุดให้กันเด็ก ผู้หญิง คนแก่ ออกให้ไกลที่สุด หรือปิดประตูหน้าต่างบ้านทุกบาน อย่างออกไปไกล้ลิงส่วนผู้ชายควรถือไม้ไว้ป้องกันตัว อย่าไล่หรือยิงลิง ต่อจากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือยิงลิง ต่อจากนั้นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือ จ.. 100 ทันที เพื่อจะได้ติดต่อประสานงานให้ เจ้าหน้าที่ส่วนสัตว์มาดำเนินการจับลิงดังกล่าว  

 

ปัญหาสัตว์ป่าในชุมชนเมือง

นายสัตวแพทย์วิศิษฎ์  อาศัยธรรมกุล

วันอาทิตย์ที่  27  มิถุนายน  2542


ทำความเข้าใจกับคำว่าสัตว์ป่า

                        ควรทำความเข้าใจกันก่อนว่าสัตว์ป่าที่แท้จริงจะต้องมีถิ่นกำเนิด และดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งเป็นวัฎจักรที่หมุนเวียนมายาวนาน (จากนี้ไปเรียกว่า “สัตว์ป่าในธรรมชาติ”) อันแตกต่างกับสัตว์ป่าที่พบเห็นในสวนสัตว์ หรือสัตว์ป่าที่มีคนนำมาเลี้ยง (จากนี้ไปเรียกว่า “สัตว์ป่านอกธรรมชาติ”) ด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ อาทิ สัตว์ป่าในธรรมชาติอาจไม่มีภูมคิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อโรคซึ่งพบเฉพาะในชุมชนมนุษย์ หรือปัจจัยด้านอาหาร ที่ต่างกันทั้งชนิดของอาหารและวิธีการได้มาซึ่งอาหารโดยสัตว์ป่านอกธรรมชาติต้องรอคอยอาหารจากมนุษย์

             สัตว์ป่าในธรรมชาติ กับสัตว์นอกธรรมชาติ เป็นปัญหาได้อย่างไร?

                        ความเป็นสัตว์ป่าที่สมบูรณ์แบบได้ย่อมต้องเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ที่ผ่านมาสัตว์ป่าหลายชนิดได้ถูกมนุษย์นำออจากธรรมชาติมาเพื่อสนองประโยชน์ของตนไม่ด้านใดด้านหนึ่ง แต่ก็ยังมีมนุษย์อีกหลายกลุ่มที่ตระหนักถึงผลเสียหายจากการรุกล้ำธรรมชาติพยายามศึกษาหาหนทางที่จะนำสัตว์ป่านอกธรรมชาติ ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด หากแต่ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการระหว่างสัตว์ป่าในธรรมชาติและสัตว์ป่านอกธรรมชาตินั้น ทำให้ความสำเร็จในการนำสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติให้ได้มากที่สุด หากแต่ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการระหว่างสัตว์ป่าในธรรมชาติและสัตว์ป่านอกธรรมชาตินั้น ทำให้ความสำเร็จในการนำสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะขาดสัญชาตญาณระวังภัยหลบหลีกศัตรูจึงเป็นอาหารของเสือหรือสัตว์ผู้ล่าอื่น ๆ ได้โดยง่ายเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของอุปสรรคในการนำสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติให้ได้ผล ผลกระทบที่ตามมานอกจากจะมีผลต่อเผ่าพันธุ์ของสัตว์ป่าธรรมชาติหลายชนิดก็ทวีจำนวนขึ้นทุกวันไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่า ที่ถูกจับล่ามาหรือสัตว์ป่านอกธรรมชาติที่แพร่ลูกแพร่หลานอย่างมากมาย การจะนำกลับคืนสู่ธรรมชาติก็ยากยิ่ง ปัญหาจึงอยู่ที่เราจะจัดการอย่างไรต่อสัตว์ป่านอกธรรมชาติเหล่านี้

             แหล่งที่อยู่อาศัยนอกธรรมชาติของสัตว์ป่า

                        อันที่จริงแล้วเส้นขอบเขตของคำว่าในธรรมชาติหรือนอกธรรมชาตินั้นมิได้แบ่งกันอย่างชัดเจนหรือแยกกันอย่างห่างไกลนัก ธรรมชาติที่ว่าอาจไม่จำเป็นต้องเป็นป่าลึกอย่างที่เข้าใจ ที่รกร้างมีน้ำท่วมขังกลางเมืองก็สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่าได้เช่นกัน

                        1. บ้านพักของพรานล่าสัตว์ มักเป็นแหล่งอาศัยนอกธรรมชาติแห่งแรกของสัตว์ป่าที่หลุดออกมาจากธรรมชาติ

                        2. ที่พักของนักค้าสัตว์ป่า เป็นแหล่งสำคัญในการแพร่สัตว์ป่าไปตามแหล่งอื่น ๆ นอกธรรมชาติ

                        3. แหล่งที่อาศัยของประชาชนทั่วไปในส่วนนี้อาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

                                    3.1 กลุ่มผู้ตั้งใจเลี้ยงสัตว์ป่าเป็นกลุ่มผู้มีใจรักที่จะเลี้ยงสัตว์ป่า มักเป็ผู้มีฐานะพอ มีการศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดนั้น ๆ พอสมควร

                                    3.2 กลุ่มผู้มิได้ตั้งใจเลี้ยงจริงจัง หรือได้สัตว์ป่ามาเลี้ยงโดยบังเอิญกลุ่มนี้มักเป็นผู้นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงตามแฟชั่นตามค่านิยมเป็นพัก ๆ ปัญหาสัตว์ป่าในชุมชนเมืองจึงมักจะมาจากกลุ่มนี้มากที่สุด ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในประเด็นนี้

                        4. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ได้แก่ สวนสัตว์ต่าง ๆ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า องค์กร มูลนิธีเอกชนที่ทำงานด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า

             ปัญหาสัตว์ป่าในชุมชนเมือง

                        ปัญหาการนำสัตว์ป่าในธรรมชาติออกมานอกธรรมชาตินอกจากผลกระทบโดยตรงต่อเผ่าพันธุ์ของสัตว์ป่า และสภาพแวดล้อมแล้ว สิ่งที่ชุมชนเมืองได้รับผลกระทบด้วยก็มากมายพอสรุปได้ดังนี้

                        1. กลิ่นและเสียงของสัตว์ป่าที่รบกวนเพื่อนบ้าน

                        2. สภาพน่าทุกขเวทนาของสัตว์ป่าที่ถูกเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม เช่นสัตว์ในกรมแคบ หรือพวกลิง ชะนี ที่ถูกล่ามโซ่ คอ เอว ผูกกับหลักยึด หลาย ๆ ตัวถูกล่ามเป็นเวลานานจนโซ่ล่ามกินลึกเข้าไปในเนื้อเป็นแผลเน่าเนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ แม้แต่เจ้าของ บางชนิดอาจตายตั้งแต่วันแรก ๆ เพราะผู้เลี้ยงไม่เป็น อาหารไม่เหมาะสม

                        3. อันตรายจากสัตว์ป่าหลุดจากที่เลี้ยงทำร้ายประชาชนและทรัพย์สิน เป็นเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

                        4. สภาพสัตว์ป่านอกธรรมชาติเกินความต้องการ ล้นกรงในสวนสัตว์หรือหน่วยงานต่าง ๆ ปัญหานี้เป็นจุดรวมปลายของปัญหาทั้งหมดในการนำสัตว์ป่าออกมานอกธรรมชาติ ประชาชนโดยทั่วไป มักคิดว่าสวนสัตว์หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานด้านนี้ จะมีศักยภาพเหมาะสมดีพอที่จะรองรับสัตว์ป่าที่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ เคยมีประชาชนนำสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ประเภทลิง ชะนี มามอบให้สวนสัตว์ หลายคนถึงกับบอกว่าจะนำมาให้อีก ถ้าหาซื้อลูกลิงมาเลี้ยงจนโตแล้วมันดุร้ายจนเลี้ยงไม่ได้อีก แสดงว่าคนเหล่านี้ไม่ได้มีความตระหนักถึงความเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตสัตว์นั้น ๆ เลย การจะได้ลูกลิงมาเลี้ยง 1 ตัว จะต้องสังเวยชีวิตแม่ลิงหรือลิงอื่น ๆ กี่ตัว ส่วนตัวเองตักตวงความสุขจากการได้เลี้ยงลูกลิง ที่มีพฤติกรรมชวนสงสารเพราะต้องกอดผู้เลี้ยงเหมือนเกาะอกแม่ของมัน เมื่อมันโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ความดุร้ายโดยธรรมชาติก็มากขึ้นก็ผลักภาระมาให้หน่วยงานต่าง ๆ ดูแลต่อในสภาพเลี้ยงที่จำกัดทั้งกรงอยู่อาศัยและงบประมาณ สัตว์หลาย ๆ ตัวต้องถูกขังลืมจนวันสุดท้ายของชีวิต

             ยังพอมีทางออกบ้างสำหรับปัญหา

                        ปัญหาของสัตว์ป่าในชุมชนเมืองมาสุดอยู่ที่การจัดการกับสัตว์ป่าเกินต้องการที่มากขึ้น ซึ่งมีแนวทางแก้ไขหรือลดปัญหาพอสรุปได้ดังนี้

                        1. เพิ่มหรือรักษาถิ่นที่อยู่อาศัยโดยธรรมชาติของสัตว์ป่า หรือรักษาป่านั่นเอง

                        2. ลดการนำสัตว์ป่าออกนอกธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางกฎหมายการกวดขั้นป้องกันปราบปราม พึงระลึกถึงคำว่า “ช่วยซื้อ คือ ช่วยล่า” ไว้เสมอ ถ้าตกอยู่ในสถานการณ์ตัดสินใจว่าจะซื้อสัตว์ป่าหรือไม่

                        3. ความร่วมมือร่วมใจทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดการต่อสัตว์ป่าเกินความต้องการ

 

กิจกรรมการเสริมโป่ง

ผศ. นายสัตวแพทย์ปานเทพ  รัตนากร

วันอาทิตย์ที่  15  กุมภาพันธ์  2542

โป่งในที่นี้หมายถึงอะไร

                        โดยทั่วไปแล้วโป่งในธรรมชาติ ก็เป็นแหล่งที่สัตว์ป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่กินพืชจำเป็นจะต้องมาใช้ดินโป่งเหล่านั้นกันเป็นอาหารเพื่อให้ได้แร่ธาติเสริมในสิ่งที่ขาดไป โป่งในธรรมชาติที่เรารู้จักกันทั่วไป โป่งดินหรือโป่งแห้งส่วนใหญ่สาเหตุที่ต้องเสริมโป่งก็เพราะว่าโป่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติถูกใช้งานโดยสัตว์ป่าหลาย ๆ ชนิดตั้งแต่ช้าง กระทิง วัวแดง เก้ง กวาง พวกที่กินพืชทั้งหลายก็จะใช้ตลอดปี ทีนี้เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะมีอาการเสื่อมสภาพ อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งทำให้เราอาจจะเข้าไปช่วยเสริมให้ดีขึ้นมา เพื่อสัตว์จะได้มีแหล่งอาหารเหล่านี้เสริมต่อไป

                         โป่งมี 2 อย่างคือ โป่งเปียก โป่งแห้ง ลักษณะเป็นอย่างไร?

                ลักษณะที่เป็นโป่งดินหรือโป่งแห้งจะเป็นเนินเตี้ย ๆ บางครั้งเหมือนพื้นดินทั่ว ๆ ไปเลย แต่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเลย อาจจะเป็นหย่อมอยู่ในบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบอยู่ แล้วก็จะสังเกตุเห็นได้จากการที่มีร่อยรอยการใช้ของสัตว์ก็จะมีรอยขุดรอยตีนย่ำทั่วไปหมด ถ้าเป็นโป่งใหญ่หน่อยที่ช้างเข้าก็จะเห็น รอยงา รอยตะกุย รอยเหยียบเพื่อเอาดินโป่งเหล่านั้นขึ้นมากินอีกชนิดคือ โป่งน้ำหรือโป่งเปียก ก็จะเป็นลักษณะเป็นที่แฉะเป็นที่ลุ่มหน่อย อาจจะมีน้ำซับออกมาให้เห็นบ้าง และที่เห็นชัดอีกอันหนึ่งคือเรื่องของร่องรอยสัตว์ที่เข้าไปใช้ก็จะมีรอยเหยียบย่ำทั่วไปหมด อันนี้ก็คือจุดเด่นที่พอจะแยกแยะได้

             ในโป่งจะมีธาตุ รสชาดเป็นอย่างไร?

                รสชาดเป็นส่วนประกอบหลักของดินโป่งก็จะมีพวกกลิ่น หรือโซเดียมคลอไรด์ แล้วก็แร่ธาติอื่นที่เป็นแร่ธาตุหายาก แต่ว่ามีความจำเป็นเช่นไม่ว่าจะเป็นโปแตสเซียม หรือว่า คอปเปอร์ แมงกานีส และก็จะมีรสปะแล่ม ๆ เหมือนกินเกลือ

             แร่ธาติพวกนี้เป็นแร่ธาติที่สัตว์ต้องการด้วย?

                ใช่ คือสัตว์ที่มากินส่วนใหญ่อย่างที่บอกไปคือสัตว์กินพืช สัตว์กินพืชจะต้องได้รับแร่ธาตุจากดิน นอกเหนือไปจากพืชทั้งหลายเป็นตัวเสริม เพราะในพืชในผักในหญ้าทั้งหลายจะมีไม่เพียงพอ ต่างกับสัตว์กินเนื้อซึ่งจะได้รับจากซากสัตว์ที่กินด้วยกันจากกระดูกหรือว่าเครื่องในต่าง ๆ เพราะฉะนั้นเป็นเหตุให้สัตว์กินพืชจำเป็นต้องได้รับดินโป่งเหล่านี้เป็นตัวเสริม

            สัตว์จำพวกไหนบ้างที่มากินดินโป่ง?

                ที่ใหญ่สุดคือ ช้างลงไปก็เป็นกระทิง วัวแดง เก้ง กวาง ที่กินหญ้าเป็นอาหารพวกนี้ต้องมาใช้ปกติแล้วมูลนิธิช้างจะไปทำปีละ 2 ครั้ง

             กิจกรรมเสริมโป่ง ทำที่ไหนบ้างบริเวณเข้าใหญ่?

                ก็กระจายไปตามอุทยานแห่งชาติบ้าง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยที่ว่าจะมีการร่วมมือกับกรมป่าไม้ กรมป่าไม้จะเป็นคนเลือกจุดเลือกสถานที่ให้ จะต้องสำรวจก่อนว่าดป่งไหนมีความเสื่อมโทรมแล้วสมควรจะได้รับการปรับปรุงหรือว่าเสริมก็จะปรึกษาหารือกัน แล้วก็ไปเสริมโป่ง ซึ่งการนี้ทำปีละ 2 ครั้ง วัตถุประสงค์หลักจริง ๆ แล้วเป็นการสร้างจิตสำนึก ให้กับเยาวชนแล้วก็สาธารณะทั่วไป ให้เห็นความจำเป็นที่เราจะได้ช่วยสัตว์ป่าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช้างแต่จะช่วยสัตว์ชนิดอื่นได้ด้วย

             วิธีทำโป่งทำอย่างไร?

                คืออันแรกก็ต้องดูก่อนว่าโป่งไหนเสื่อมลง สัตว์มีอัตราการใช้โป่งนั้นน้อยลง เริ่มจะร้างก็จะเลือกโป่งนั้น

                        อันที่สอง เตรียมพื้นที่เพื่อที่จะไปขุดพลิกหน้าดินขึ้นมาแล้วก็ใช้เกลือที่เราผสมแร่ธาตุทั้งหลายก็จะเอาใส่ลงไปในหน้าดินเหล่านั้นแล้วก็ฝังกลบลงไป เสร็จแล้วก็จะรดน้ำเพื่อที่ให้แร่ธาติเหล่านั้นซึมซาบลงไปไม่ฟุ้งกระจายไปไหนแล้วจะได้แน่นเป็นเนื้อเดียวกัน อันนี้ก็เป็นวิธีการที่ง่าย ๆ พอหลังจากเสร็จแล้วก็จะฝากให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้เฝ้าติดตามดูผล

             ใช้เวลาทำนานหรือไม่?

                        ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่า ๆ ต่อ 1 แห่ง

             ในอนาคตมีจะไปทำที่ไหนเพิ่มอีกหรือไม่?

                คงจะมีในอุทยานหรือว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์อื่น อย่างเช่นที่ทำมาก็เช่นที่แก่งกระจาน แล้วก็ตามบริเวณป่าต่าง ๆ ของกาญจนบุรีก็เคยไปทำในอนาคตก็มีที่อื่นอีก

             ปีหนึ่ง 2 ครั้งน้อยไปหรือไม่?

                จริง ๆ อย่างที่เรียนให้ทราบว่าเป็นเหมือนการกระตุ้นจิตสำนึก แต่ว่าถ้าส่วนหนึ่งจะมีการมอบให้ป่าไม้ เพื่อเสริมอยู่ตลอดเวลา

              นอกจากกิจกรรมเสริมโป่งแล้วทางมูลนิธิมีกิจกรรมอื่นอีกหรือไม่?

                ขณะนี้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องโปรแกรมสุขภาพช้าง ซึ่งเราจะจัดเป็นการประชุมนานาชาติ เพื่อที่จะให้เป็นมาตรฐานของการดูแลช้างในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์จะจัดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดือนมีนาคม นอกจากนี้ก็ยังมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในการดูแลสุขภาพช้าง

 

วัณโรคในสัตว์ป่า

นายสัตวแพทย์อลงกรณ์  มหรรณพ

วันอาทิตย์ที่  17  ตุลาคม  2542


สาเหตุของโรค
  

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium tuberculosis, M.bovis, M.africanum เป็นสัตว์ที่

ก่อโรคในสัตว์ เช่น โค กระบือ กวาง สมเสร็จ เป็ด ไก่ และแพร่โรคมายังคนได้

              การติดต่อ         

ติดต่อแพร่ระบาดโดยระบบทางเดินหายใจมากที่สุด โดยการหายใจเอาละอองเชื้อผ่านเข้า

ทางจมูก ส่วนทางอื่น ๆ ก็สามารถติดต่อผ่านทางผิวหนังจากบาดแผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรค ทางอาหารก็เกิดได้เช่นเดียวกัน แต่โอกาสจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทางระบบทางเดินหายใจ

                        ชนิดสัตว์และตำแหน่งอวัยวะที่เกิดโรค ลิง, ค่าง, ชะนี เป็นสัตว์ที่ไวต่อการติดเชื้อวัณโรคมาก อาการที่เกิดขึ้นจะเกิดที่เนื้อเยื่อของปอด และต่อมน้ำเหลืองของหัวและช่องอก

                        ในวัว     มักเกิดที่ปอด และต่อมน้ำเหลือง ทางเดินอาหาร

                        ในสุนัข พบได้ในปอด ตับ ไต

                        ในม้า    พบได้ในตับและต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง

            อาการ

                        ขึ้นอยู่กับการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของเชื้อทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายเป็นต้น ในสัตว์จำพวกลิงเชื้อจะเข้าไปยังปอดก่อนสัตว์ก็จะมีอาการไอ หายใจลำบาก ตับ และม้ามอาจโตผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่และอาจแตกออกมาทางผิวหนัง มีหนองไหลออกมา ร่างกายผอมลงเรื่อย ๆ เบื่ออาหาร ขนหยาบ ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ ถ้าเชื้อเข้าไปมากอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก่อนที่จะแสดงอาการออกมา

                        อาการในสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ และในสัตว์กีบคู่จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมโต เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วลำไส้ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ และมีลักษณะเม็ดตุ่มแข็งบริเวณปอด ตับ ม้าม และเยื่อบุช่องอก และช่องท้อง สัตว์จะผอมลง หายใจลำบาก ขนยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ

             การป้องกัน

                        1. ควรตรวจดูแลสัตว์ในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง หลีกเลี่ยงการนำสัตว์ไปคลุกคลีกับสัตว์ป่วย

                        2. ไม่ควรนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงภายในบ้านเรือน

                        3. ในกรณีต้องมีการนำสัตว์ใหม่เข้ามาเลี้ยงควรมีการกักกันสัตว์ 90-120 วัน

                        4. ในกรณีสงสัยว่าญาติพี่น้องจะติดเชื้อวัณโรคควรรีบไปพบแพทย์ทันที

             การติดเชื้อของวัณโรค ติดต่อไปทางใดบ้าง?

                โดยทั่วไป คน ลิง ชะนี ค่าง วัว กวาง หรือสัตว์กีบคู่ นก สัตว์เลื้อยคลาน มักจะเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรคนี้ ดังนั้นการแพร่ไปสู่มนุษย์หรือสัตว์อื่นก็โดยการไอ การจาม ทำให้เชื้อที่อยู่ภายในทางเดินหายใจ กระจายออกสู่ภายนอก เป็นละอองน้ำลาย ละอองเสมหะ เมื่อละอองดังกล่าวตกลงสู่พื้นหรือแห้งลงก็จะเกิดเป็นละอองของเชื้อขนาดเล็ก และมีโอกาสฟุ้งกระจายจากพื้นได้อีกครั้ง ถ้ามีลมหรือมีการกวาดฝุ่นที่พื้นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจเป็นทางที่ติดต่อที่สำคัญที่สุด

             การแพร่กระจายของเชื้อในร่างกายของสัตว์เป็นเช่นไร?

                เมื่อเชื้อเข้าสู่ระบบหายใจ เชื้อก็จะเข้าไปขยายตัวที่ปอดและร่างกายก็พยายามต่อต้าน เช่น มีเม็ดเลือดขาวมาคอยกัดกิน ทำลาย มีการสร้างเนื้อเยื่อมาคลุมตัวเชื้อ แต่เมื่อร่างกายสู้ไม่ได้อาจจะเนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรงพอ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็จะทำให้เชื้อแบ่งตัวและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด ที่คอ ที่กราม แพร่กระจายไปยังเยื่อหุ้มปอด และไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต กระดูก กระดูกสันหลัง ตับ ม้าม เยื่อหุ้มสมอง

             ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าสัตว์เป็นวัณโรคหรือไม่?

                1. การย้อมสีทนกรด โดยการเอาเสมหะมาย้อมสีพิเศษทางห้องปฏิบัติการ

                        2. การเพาะเชื้อเป็นการวินิจฉัยโรคที่แน่นอนแต่กินเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน

                        3. การพิสูจน์เชื้อโดยทางวิธีทางชีวเคมี

                        4. การทดสอบความไวของยา

                        5. การทดสอบทิวเบอร์คิวลิน โดยการใช้แอนติเจนของโรคนี้ฉีดทดสอบเข้าไปในสัตว์ที่บริเวณหนังตาบน หรือโคนหาง

                        6. การเอ็กซ์เรย์ช่องอก

             เป็นการเหมาะหรือไม่ที่จะนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในบ้าน และโอกาสที่สัตว์ป่าจะเป็นวัณโรคมีมากน้อยเพียงใด?

                สัตว์ป่าไม่ควรนำมาเลี้ยงในบ้านโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปีพุทธศักราช 2535 แล้ว ยังเป็นการนำโรคติดต่อที่ร้ายแรง เช่น โรคพิษสุนัขบ้า, วัณโรค, พยาธิ ฯลฯ มาสู่บุคคลหรือญาติพี่น้องในครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านด้วยวัณโรคเป็นโรคที่อันตรายมาก การติดต่อแพร่กระจายเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเป็นโรคเรื้อรังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูงโอกาสที่สัตว์ป่าจะเป็นวัณโรคได้มีค่อนข้างสูงโดยเฉพาะสัตว์ประเภทลิง ชะนี ค่าง เพราะการควบคุมหรือการดูแลเรื่องความสะอาด สุขอนามัยการป้องกันโรคทำได้ลำบากกว่าในมนุษย์