โรควัวบ้า    ปัญหาด้านปศุสัตว์ของภูมิภาค

            รศ. สัตวแพทย์หญิง ดร. อัจฉริยา ไศละสูต *

ศูนย์ประสานงานข้อมูลสัตวแพทย์   สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์


          นับแต่เริ่มมีการระบาดของโรควัวบ้าในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1986 ทำให้วงการปศุสัตว์ทั่วโลกเริ่มรู้จักโรคของ ระบบประสาท ในวัวอีกโรคหนึ่ง คือ โรควัวบ้า หรือ โรคสมองฟ่ามติดต่อในวัว (BOVINE SPONGIFORM ENCEPHALOPATHY,BSE) ซึ่งเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มของโรคสมองฟ่ามติดต่อ(TRANSMISSIBLE
SPONGIFORM ENCEPHALOPATHIES , TSEs ) พบได้ในคนและสัตว์หลายชนิด โรคกลุ่มนี้ที่รู้จักกันมานาน คือ โรคสเครปี (SCRAPIE) ในแกะและแพะ ในคน คือ โรคสมองฝ่อ (CREUTZFELDT - JAKOB DISEASE , CJD โรคซี. เจ. ดี)ซึ่งพบในคนสูงอายุ  

           โรคสมองฟ่ามติดต่อเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของระบบประสาทส่วนกลางและตายในที่สุด สาเหตุของโรคคือ โปรตีนชนิดติดต่อ เรียกว่า พรีออน (PRION) ทำให้เรียกโรคนี้อีกชื่อว่า โรคพรีออน (PRION DISEASEs) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติทนต่อเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีน ความร้อนและสารเคมี ระยะฟักตัวของโรคนาน 2 – 5 ปี การติดต่อของโรควัวบ้า มีสาเหตุจากการปนเปื้อนของซากสัตว์ในอาหารวัวซึ่งเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิต โดยในปี ค.ศ. 1988 เนื้อและผลิตภัณฑ์จากกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ห้ามนำไปผสมอาหารให้แก่ปศุสัตว์ เช่น สุกร, ม้า. ไก่ และปลา

          ความสำคัญด้านสาธารณสุข ระหว่างปี ค.ศ. 1995 - 1998 มีรายงานโรค ซี. เจ. ดี. ชนิดv CID ( variant CID) ประเทศอังกฤษ 39 ราย ในฝรั่งเศส 1 ราย ซึ่งผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 29 ปี ทำให้มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวกับการรับประทาน ผลิตภัณฑ์จากวัวที่ป่วยเป็นโรควัวบ้า เนื่องจากโครงสร้างของยีนที่สร้างโปรตีนพรีออนในวัว คล้ายคลึงกับยีนในคน เป็นผลทำให้เกิดวิกฤตการณ์เนื้อวัว(BEEF CRISIS) ในประเทศอังกฤษ สหภาพยุโรปและประเทศทั่วโลก ห้ามการนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากวัวของประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 อังกฤษได้ใช้มาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด ป้องกันการปนเปื้อนของเนื้อและผลิตภัณฑ์จากวัวในอาหารของมนุษย์และสัตว์ โรควัวบ้าในอังกฤษระบาดสูงสุดในปี ค.ศ. 1993 ได้มีการออกกฎห้ามขายเนื้อจากวัวอายุมากกว่า 30 เดือน (OVER THIRTY MONTHS SLAUGHTER SCHEME, OTMS) ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนการระบาดพบการกระจายของโรคไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ การพัฒนาการวินิจฉัยโรควัวบ้า เป็นอีกปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุม และเฝ้าระวังโรคการสังเกตอาการทางประสาท โดยสัตวแพทย์ผู้ชำนาญร่วมกับการวินิจฉัยของห้องปฏิบัติการ การตรวจสมองวัวป่วย ทางจุลพยาธิวิทยาตรวจหารอยโรครูพรุนในเนื้อสมอง (SPONGIFORM DEGENERATION) ร่วมกับทางอิมมูนโนฮีสโตเคมี ตรวจหา “ SCRAPIE – ASSOCIATED FIBRILS, (SAFs) ” ทางกล้องจุลทัศน์อิเลคตรอน รวมทั้งการตรวจกรอง (SCREENING TEST ) จากตัวอย่างสมองโดยใช้ชุดตรวจสอบสำเร็จรูป ตรวจหาโปรตีนพรีออนจาก EUROPEAN COMMISSION,(1990) เช่น PRIONICS®(IMMUNOBLOTTING TEST), ENFER®(ELISA TEST),CEA®(IMMUNOASSAY TEST)

           ในปัจจุบันได้พัฒนาการตรวจสอบในสัตว์ที่ยังมีชีวิตโดยเก็บตัวอย่าง เช่น เนื้อเยื่อต่อมทอนซิล น้ำไขสันหลัง เลือด และปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบต่างๆเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาความแม่นยำ มาตรการการทำงานกับโรควัวบ้า มีการควบคุมอย่างเคร่งครัดเนื่องจากคุณสมบัติการติดต่อในสัตว์และมนุษย์ ซึ่งได้กำหนดให้อยู่ในระดับ P3 ( EU COUNCIL DIRECTIVE,1990)     

      สำหรับประเทศไทยยังไม่มีอุบัติการณ์ของโรควัวบ้ารัฐบาลให้ความสำคัญในด้านการค้าระหว่างประเทศ และมาตรการการนำเข้า สินค้าปศุสัตว์ ได้วางแผนเฝ้าระวังโรควัวบ้าในระดับต่างๆ ตามกรอบ แนวทางของ OIE (OFFICE OF INTERNATIONAL DES EPIZOOTIES, 1996) โดยความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และภาคเอกชน โดยสัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่ด้านชันสูตร มาตรฐานห้องปฏิบัติการจะได้รับการอบรม การวินิจฉัยและเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความมั่นใจด้านการปศุสัตว์ของประเทศและความปลอดภัยของผู้บริโภค

 

เอกสารและข้อมูลอ้างอิง

  1. Advisory Committee on Dangerous Pathogens, Spongiform Encephalopathy Advisory Committee. Transmissible spongiform encephalopathy agents: safe working and the Prevention of infection. London (1990). HSE Books, PO Box 1999, Sudbury, Suffolk CO10 6FS.

  2. Bovine Spongiform Encephalopathy in Great Britain, A Progress Report June 1997.
  3. Council Directive of 26 November 1990 on the protection of workers from risks related to exposure to biological agents at work of 26 November 1990 (90/679/EEC). Official Journal of the European Communities No. L374/1 of 31.12.1990, and modifications up to and including 6.12.1997 (97/65EC)
  4. IV International Workshop on the Diagnosis of Spongiform Encephalopathies, Veterinary Laboratory Agency, Weybridge England 2 – 6 June, 1997: Compendium.
  5. Geographical BSE – Risk Assessment report For France, 29/05/2000, page 21.
  6. Manual of Standards For Diagnostic Tests and vaccines office of International Des Epizooties 1996 World Organization for Animal Health, page 338 – 341.
  7. Grabriel JM, Oesch B, Kretzschmar H,Scott M, Prusiner SB. Molecular cloning of a candidate chicken prion protein. Proc Natl Acad Sci U S A 89, 9097 – 101 (1992).
  8. Prusiner SB, Scott M, Foster D, Pan KM, Groth D, Mirenda C, Torchia M, Yang SL. Serban D, Carlson GA, et al. Transgenetic studies implicate interactions between homologous PrP isoforms in scrapie prion replication. Cell 63, 673 – 86 (1990).
  9. Tyler, Kienneth, L.2000. section B Prions and Prion Diseases of the central Neroous System. In Principles and Practice of Infections Diseases 5th Ed. Vol Π, page 1971 – 1985.
  10. Further Information on BSE is available on the Internet at:http://www.maff.gov.uk/maffhome.htm.