คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชุดก่อน
ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ยืนยันให้ดำเนินการต่อไป
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อพ้นวันที่ 4 เมษายน 2544
ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์
พ.ศ.
.
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(มติคณะรัฐมนตรีวันที่
5 กันยายน 2543) มีสาระสำคัญ
ดังนี้
ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการบำบัดโรคสัตว์
พ.ศ. 2505
กำหนดให้สัตวแพทยสภามีฐานะเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและควบคุมการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
และควบคุมส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์รวมทั้งควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคล
ที่ไม่มีความรู้ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนที่มารับบริการ
รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่นที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
โดยสัตวแพทยสภาอาจมีรายได้จากเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
ค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก
ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ
ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและกิจการตามวัตถุประสงค์
เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สัตวแพทยสภารวมทั้งดอกผลของเงินและทรัพย์สินดังกล่าว
กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสัตวแพทยสภา
กำหนดให้มีสำนักงานสัตวแพทยสภาเพื่อทำหน้าที่ธุรการต่าง ๆ ให้แก่สัตวแพทยสภาและคณะกรรมการสัตวแพทยสภา รวมทั้งให้มีสำนักงานสาขาได้ตามความจำเป็นตามที่คณะกรรมการสัตวแพทยสภากำหนด
กำหนดให้สัตวแพทยสภาประกอบไปด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้ได้รับปริญญา
อนุปริญญา
หรือประกาศนียบัตรในวิชาสัตวแพทย์ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด
โดยสมาชิกสัตวแพทยสภามีสิทธิขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
และมีหน้าที่ต้องผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งมีสิทธิและหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้
และสำหรับการพ้นจากสมาชิกภาพนั้นให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด
กำหนดให้มีคณะกรรมการสัตวแพทยสภา
ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง
กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนส่วนราชการ
และกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิก
และในการดำเนินงาน
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาได้
รวมทั้งเลือกกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง
นายกสัตวแพทยสภา
อุปนายกสัตวแพทยสภา
และตำแหน่งผู้บริหาร
ได้แก่ เลขาธิการ
รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์
เหรัญญิก
และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
โดยคณะกรรมการสัตวแพทยสภานี้มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการต่าง
ๆ ของสัตวแพทยสภา
และออกข้อบังคับสัตวแพทยสภา
รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ส่วนนายกสัตวแพทยสภา
อุปนายกสัตวแพทยสภา
และผู้บริหารมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ซึ่งหากผู้ใดประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสัตวแพทยสภาจะต้องโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสัตวแพทย์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสัตวแพทยสภา
กรณีที่มีการฝ่าฝืนและมีการทำคำกล่าวหาหรือคำกล่าวโทษเป็นหนังสือเสนอต่อสัตวแพทยสภา
คณะกรรมการสัตวแพทยสภาต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณขึ้นมาเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง
แล้วเสนอให้คณะกรรมการสัตวแพทยสภาพิจารณาและมีมติว่าจะให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
หรือจะให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล
หรือให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษในกรณีที่ข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
และเมื่อคณะอนุกรรมการการสอบสวนทำการสอบสวนได้ข้อยุติแล้ว
คณะกรรมการสัตวแพทยสภาจึงจะพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งสัตวแพทยสภา
พร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยและคำสั่งนี้ให้ถือเป็นที่สุด
กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของสัตวแพทยสภาและการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์
และสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสัตวแพทยสภาและการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวและมีอำนาจเข้าไปในสำนักงานของสัตวแพทยสภา
หรือสถานที่ของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบใบอนุญาต
เอกสารหรือวัตถุ
ค้นหรือยึดเอกสารที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา