โรคโลหิตจางติดต่อในไก่
( Chicken Infectious Anemia, CIA )
อารุณี ชัยสิงห์
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
โรคโลหิตจางติดต่อในไก่ (CIA) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ลูกไก่ป่วย โดยมีอาการ หงอย ซึม ผอม ซีดเนื่องจากเกิดสภาวะโลหิตจางชนิด aplastic anemia มีหย่อมเลือดออกที่กล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน เซลล์น้ำเหลืองทั่วร่างกายฝ่อ (generalized lymphoid atrophy) เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนโดยมักเกิดกลุ่มอาการผิวหนังอักเสบช้ำเลือด ทำให้มีการเรียกชื่อโรคต่างๆกันไป ตามกลุ่มอาการที่พบ เช่น blue wing disease (Engstrom&Luthman,1984), hemorrhagic syndrome (Yuasa et al.,1987), anemia-dermatitis (Vielitz&Landgraf,1988)
ประวัติความเป็นมาของโรค
Yuasa et al. (1979) รายงานการแยกเชื้อจากไก่ป่วยที่มีการติดเชื้อ reticuloendotheriosis virus ซึ่งปนเปื้อนในวัคซีนมาเร็กซ์ โดยการฉีดตัวอย่างที่เตรียมผ่านกระดาษกรองขนาด 25 nm เข้าในลูกไก่ทดลองชนิดปลอดเชื้อจำเพาะ (specific pathogen free, SPF) อายุ 1 วัน พบว่าทำให้ลูกไก่ป่วยและตาย โดยมีสภาวะโลหิตจางอย่าง รุนแรง มีหย่อมเลือดออกตามร่างกาย ต่อมไทมัสฝ่อ จึงเรียกชื่อเชื้อนี้ตามที่ทำให้เกิดสภาวะโลหิตจางว่า chicken anemia agent (CAA) เชื้อนี้มีความทนทานสูง และไม่ทำให้เกิดการผิดปกติของไข่ไก่ฟักและเซลล์เพาะเลี้ยงที่เตรียมจากไตไก่และคัพภะไก่ จึงทำให้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการศึกษาเชื้อนี้ โดยมีเพียงการศึกษาทางด้านพยาธิวิทยา (Taniguchi et al., 1982,1983) ต่อมา Yuasa (1983) พบว่าเชื้อ CAA สามารถเจริญเติบโตได้ดีใน lymphoblastoid cell lines ที่เตรียมจากเนื้องอกบางชนิดของไก่ เช่น LSCC-1104B1 (เตรียมจากเนื้องอกที่ต่อมเบอร์ซ่าซึ่งเกิดจากโรคลิวโคซิส) และ MDCC-MSB1 (เตรียมจากเนื้องอกที่ม้ามซึ่งเกิดจากโรคมาเร็กซ์) ซึ่งนอกจากจะทำให้การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้สะดวกยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับปัญหาของสภาวะโลหิตจางที่พบในท้องที่ด้วย (Yuasa et al.,1983a) และหลังจากการศึกษาลักษณะรูปร่างของเชื้อนี้ในระยะต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น chicken anemia virus (Gelderblom et al.,1989)
หลังรายงานการแยกเชื้อครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็มีรายงานการแยกเชื้อนี้จากประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมัน (Bulow et al.,1983) อังกฤษ (Chettle et al.,1989) ฝรั่งเศส (Picault et al.,1992) สวีเดน (Engtrom,
1988) ฮังการี (Farkas et al.,1992) สหรัฐอเมริกา (Rosenberger&Cloud,1989a, Goodwin et al.,1989; McNulty
et al.,1989) ออสเตรเลีย (Firth&Imai, 1990) นิวซีแลนด์ (Stanislawek&Howell,1994) บราซิล (Brentano
et al.,1991) อาเจนตินา (Buscaglia et al.,1994) ชิลี(Toro et al.,1994) อัฟริกาใต้ (Wicht&Maharaj,1993)
ซาอุดิอาราเบีย (Al-Ankari et al.,1996) เกาหลีใต้ (Seong et al.,1996) โรมาเนีย (Avram&Avram,1997) จีน (Zhon et al.,1997) และประเทศไทย (อุราศรีและคณะ,1996) นอกจากนั้นจากรายงานการศึกษาทางซีรั่มวิทยาของฝูงไก่ ในประเทศมาเลเซีย (Rozanah et al.,1995) โปแลนด์ (Wieliczko et al.,1996) รวมทั้งของฝูงไก่ SPF (Yuasa et al.,1985; McNulty et al.,1988; Nicholas et al.,1989) ก็บ่งชี้ว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อนี้ไปทั่วโลก
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสโลหิตจางติดต่อ (chicken anemia virus, CAV) ซึ่งขณะนี้จัดอยู่ในตระกูล Circoviridae ร่วมกับพวก circovirus ชนิดอื่นๆคือ porcine circovirus, psittacine beak and feather disease virus และ pigeon circovirus (Lukert et al.,1995; Woods et al.,1994) แต่ต่อไปคงจะมีการเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่ม เนื่องจากมีความแตกต่างของขนาดและลักษณะทางโมเลกุลของเชื้อไวรัส (Todd et al.,1991; Note born & Koch,1995)
เชื้อ CAV เป็น DNA ไวรัสชนิดสายเดี่ยว รูปวงกลม ไม่มีเปลือกหุ้ม ขนาดเล็กโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 19-26 นาโนมิเตอร์ (Goryo et al.,1987; Gelderblom et al.,1989; McNulty et al.,1990a; Imai&Yuasa,1991) ประกอบด้วยโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ VP1 (ขนาดประมาณ 50 kDa) เป็นส่วนประกอบใหญ่ของ capsid protein และเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้มีการสร้างแอนติบอดี VP2 (ขนาดประมาณ 30 kDa) ซึ่งเป็น non-structural proteinและยังไม่ทราบหน้าที่ชัดแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้มีการสร้างแอนติบอดีร่วมกับ VP1 และ VP3 (ขนาดประมาณ 16 kDa) หรือเรียกว่า apoptin ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด apoptosis (programmed cell death) ใน thymocytes และ ในเซลล์เพาะเลี้ยงโดยทำให้เกิดการตายของเซลล์เนื่องจากการเสื่อมสลายของสารพันธุกรรม โดยไม่มีการอักเสบ นอกจากนั้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสด้วย (Noteborn&Koch,1995)
เชื้อ CAV สเตรนต่างๆที่แยกได้ไม่พบว่ามีความแตกต่างทาง antigenicity จึงมีเพียง serotype เดียว นอกจากนั้นการศึกษาทาง restriction-enzyme mapping และการเรียงตัวของดีเอ็นเอ (DNA sequence) ของเชื้อ CAV สเตรนต่างๆก็พบว่ามีความแตกต่างไม่มากนัก (Noteborn&Koch,1995)
ความทนทานของเชื้อ
CAV เป็นเชื้อไวรัสที่มีความทนทานสูง โดยเฉพาะถ้าอยู่ใน infected organic materials จึงเป็นการยากที่จะทำลายเชื้อ CAV ซึ่งถูกขับออกมากับอุจจาระและปนเปื้อนอยู่ในโรงเรือน ( Nicholas et al.1989; Yuasa ,1992)
เชื้อ CAV มีความทนทานต่อ
- ether และ chloroform, ความร้อนที่ อุณหภูมิ 80 0C นาน 15 นาที , 70 0C นาน 1 ชั่วโมง และทนต่อสภาวะความเป็นกรดที่ pH 3 นาน 3 ชั่วโมง (Yuasa et al.,1979)
- ยาฆ่าเชื้อทั่วไปเช่น invert soap, amphoteric soap, orthodichlorobenzene และ organic solvent (Yuasa ,1992)
- 90% acetone นาน 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง (Taylor,1992)
- ทนต่อ 0.1 N HCl, 0.1 N NaOH, 0.1% sodium azide และ 1% thimerosol (Yuasa ,1992)
- formaldehyde หรือ ethylene oxide fumigation นาน 24 ชั่วโมง (Yuasa ,1992)
เชื้อ CAV ถูกทำลายด้วย
- ความร้อน 1000C นาน 15 นาที ในผลิตภัณฑ์ไก่ต้องใช้ core temperature 950C, 30 นาที หรือ 1000C นาน 10 นาที (Urlings et al.,1993)
- 10% iodine หรือ 10% hypochlorite นาน 2 ชั่วโมง ที่ 370C (แต่ไม่ถูกทำลายถ้าใช้ความเข้มข้นเพียง 2%) (Yuasa,1992)
- 5% formaldehyde นาน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง (Yuasa,1992)
- 1% glutaraldehyde นาน 10 นาที ที่อุณหภูมิห้อง (Yuasa,1992)
- 0.4% beta-propiolactone นาน 24 ชั่วโมง ที่ 40C (Yuasa,1992)
- 50% phenol นาน 5 นาที ที่ 370C (แต่ไม่ถูกทำลายด้วย 5% phenol นาน 2 ชั่วโมง) (Yuasa et al., 1979; Yuasa,1992)
การแพร่เชื้อและการติดเชื้อ
เชื้อ CAV แพร่กระจายทั้งแนวตั้งและแนวนอน (vertical & horizontal transmission) แต่ในท้องที่พบโรคในลูกไก่ที่ได้รับเชื้อแนวตั้ง (vertical transmission) ผ่านทางแม่ไก่ที่ติดเชื้อในระยะไข่ (laying) นอกจากนั้นคัพภะไก่อาจได้รับเชื้อผ่านทางน้ำเชื้อของไก่พ่อพันธุ์ที่ติดเชื้อ (Hoop,1993) การแพร่เชื้อในแนวนอน (horizontal transmis- sion) เกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนใหญ่โดยการกิน และอาจโดยการหายใจ (Rosenberger& Cloud,1989b) การติดเชื้อในแนวนอนนี้ไม่ทำให้ลูกไก่ชนิด SPF แสดงอาการป่วยแม้ว่าจะได้รับเชื้อตั้งแต่อายุ 1 วัน จากการเลี้ยงรวมกับลูกไก่ที่ได้รับเชื้อโดยวิธีฉีดเข้ากล้าม (Yuasa et al.,1979)
ไก่ทุกอายุมีความไวต่อการติดเชื้อ CAV แต่อาการของโรคจะเกิดเฉพาะในลูกไก่อายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์ (Yuasa et al.,1979; Yuasa&Imai,1986; McNulty et al.,1989; Rosenberger&Cloud,1989b) ไก่จะมีความทนทานต่อโรค CIA เพิ่มขึ้นตามอายุ โดยมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดี (Yuasa et al.,1980; Yuasa et al., 1988; Hu et al.,1993 ) และ thymic precusors cells (Jeurissen et al.,1992)
การติดเชื้อในไก่อายุมากกว่า 12 สัปดาห์ และไม่มีภูมิคุ้ม นอกจากจะไม่ทำให้ไก่แสดงอาการป่วยแล้ว ยังไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโต และคุณภาพของผลผลิต (Bisgaard,1983; Engstrom&Luthman,1984; Vielitz& Landgraf, 1988; Hoop,1992)) เชื้อ CAV จะถูกขับออกมาทางอุจจาระหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์เป็นส่วนมากและอาจพบเชื้อในอุจจาระบ้างหลังจากติดเชื้อ 3-5 สัปดาห์ แต่จะไม่พบเชื้อในอุจจาระอีกหลังจากมีการสร้างแอนติบอดี (Hoop,1992; Yuasa et al.,1983b)
แม่ไก่ทดลองที่ติดเชื้อในระยะไข่ จะขับเชื้อ CAV ผ่านทางไข่ฟักหลังจากได้รับเชื้อ 8-14 วัน (Yuasa& Yoshida, 1983) แต่จากรายงานการติดเชื้อตามธรรมชาติในท้องที่พบว่าการแพร่เชื้อ CAV ผ่านทางไข่ฟักอาจเกิดขึ้นในช่วง 3-9 สัปดาห์ หลังจากแม่ไก่ได้รับเชื้อ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอัตราการแพร่กระจายของเชื้อ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ และความเร็วในการสร้างภูมิคุ้มของแม่ไก่ (ฺB�low&Schat,1997) ลูกไก่ที่ได้รับเชื้อผ่านจากแม่ทางไข่ฟักจะมีการเจริญเติบโตของคัพภะและฟักตามปกติ และแสดงอาการป่วยเมื่ออายุประมาณ 1-2 สัปดาห์ แม่ไก่ที่มีภูมิคุ้มต่อเชื้อ CAV และติดเชื้อซ้ำในระยะไข่จะขับเชื้อออกทางอุจจาระภายใน 2-4 วันหลังจากได้รับเชื้อเท่านั้น ไม่พบว่ามีการขับเชื้อผ่านทางไข่ฟัก และยังพบว่า ฮอร์โมน และความเครียด ไม่มีผลต่อการขับเชื้อไวรัส (Hoop, 1992)
อาการ
อาการของโรค CIA จะพบเฉพาะในลูกไก่ที่ติดเชื้อผ่านทางแม่ไก่ (vertical transmission) หรือลูกไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มและได้รับเชื้อโดยการฉีดเมื่อแรกเกิด โดยเริ่มป่วยเมื่ออายุ 8-14 วัน ด้วยอาการ หงอยซึม น้ำหนักลด ซีด สังเกตได้จากผิวหนังบริเวณที่ไม่มีขนปกคลุม เช่น หนังตา หงอน และขา อัตราตายประมาณ 10-20 % โดยมีการตายเมื่ออายุ 12-23 วัน และตายสูงสุดเมื่ออายุ 14-18 วัน (Taniguchi et al.,1982) ในกรณีที่มีการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนอัตราตายอาจสูงถึง 60 % ลูกไก่ป่วยที่ไม่ตายจะหายเป็นปกติภายใน 20-28 วันหลังจากติดเชื้อ (ฺB�low& Schat,1995)
ความรุนแรงของสภาวะโลหิตจางซึ่งเป็นลักษณะเด่นชัดของการติดเชื้อ CAV ในลูกไก่ขึ้นอยู่กับ สเตรน และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ ตลอดจน อายุ และสายพันธุ์ของลูกไก่ (Yuasa, 1989) เมื่อเจาะเลือดลูกไก่ป่วย จะพบว่า เลือดจางใส แข็งตัวช้า ค่า hematocrit ต่ำ ( 6-27 %)
พยาธิสภาพ
ความรุนแรงของพยาธิสภาพขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ สเตรนของเชื้อไวรัส (Yuasa&Imai, 1986; Toro et al.,1997) ปริมาณของเชื้อ CAV และวิธีที่ได้รับเชื้อ (McNulty et al., 1990b; Rosenberger&Cloud, 1989b; Yuasa et al., 1979) ชนิดและสายพันธุ์ของไก่ (Yuasa,1989) ภูมิคุ้มจากแม่ (Yuasa et al., 1980; Otaki et al., 1992) อายุไก่ (Yuasa et al., 1979 ; Yuasa et al., 1983a ; Jeurissen et al., 1992 ; Hu et al., 1993) และปัจจัยต่างๆที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Rosenberger&Cloud, 1989b ; Yuasa et al., 1988)
หลังจากลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน ได้รับเชื้อ CAV โดยการฉีดเข้ากล้าม เชื้อ CAV จะเข้าสู่กระแสโลหิตไปเพิ่มจำนวนตามอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ม้าม ตับ ไต ไขกระดูก สมอง ลำไส้ ซึ่งสามารถแยกเชื้อได้ตั้งแต่ 1 วัน โดยพบปริมาณเชื้อสูงสุด (high titer) ในอวัยวะต่างๆหลังจากได้รับเชื้อ 7-14 วัน และในซีรั่มหลังจากได้รับเชื้อ 7 วัน เมื่อตรวจพบแอนติบอดีในวันที่ 14 หลังจากได้รับเชื้อ ก็ตรวจไม่พบเชื้อ CAV ในซีรั่มอีก (Yuasa et al., 1983b) ไก่ SPF
ที่ได้รับเชื้อ CAV โดยการฉีดเข้ากล้ามเมื่ออายุ 28 และ 42 วัน ก็สามารถตรวจแยกเชื้อ CAV จากอวัยวะต่างๆได้เช่นเดียวกัน ยกเว้นจาก สมองและซีรั่ม โดยพบว่าเชื้อมีปริมาณสูงสุด (high titer) หลังจากได้รับเชื้อ 7 วัน และลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับเชื้อ 14 วัน และสามารถตรวจพบแอนติบอดีได้ตั้งแต่ 7 วัน (Yuasa et al.,1983b)
เชื้อ CAV มีผลในการทำลายระบบภูมิคุ้มโดยตรง เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนในเซลล์น้ำเหลืองทั่วร่างกาย (generalized lymphoid cells) (Smyth et al.,1993) โดยเฉพาะใน precursor T-cells ในส่วน cortex ของต่อมไทมัส (Adair et al.,1993) และทำให้เกิดการตายของเซลล์ โดยขบวนการ apoptosis หรือ programmed cell death*
ทำให้เกิดการฝ่อของต่อมไทมัสซึ่งพบได้ชัดเจน หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนสภาวะโลหิตจางซึ่งเป็น
ลักษณะที่เด่นชัดของโรค CIA นั้นก็คงจะเกิดจากการตายของเซลล์ hemocytoblast ที่ไขกระดูก โดยกระบวนการเดียว
กัน ตามลักษณะของ nuclear chromatin ที่ Goryo และคณะ (1989) พบใน phagocytosed erythrocyte ในไขกระดูกไก่ทดลองหลังจากได้รับเชื้อ CAV 6 วัน (Jeurissen et al.,1992)
programmed cell death* เป็นลักษณะพื้นฐานของการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อปกติในระยะที่เป็นตัวอ่อน การแทนที่ของเซลล์ในเนื้อเยื่อบางชนิด เช่นต่อมไทมัส พบทั้งในคนและสัตว์ เกิดขึ้นภายใต้การควบคุม ของโปรแกรมทางพันธุกรรม นอกจากนั้นยังเป็นขบวนการหนึ่งของระบบภูมิคุ้มในการกำจัดเซลล์ที่มีการติดเชื้อ (Goldstein et al.,1991) ซึ่งสามารถแยกจากเซลล์ที่มีกระบวนการตายตามพยาธิสภาพ (necrosis) ได้ด้วยวิธีทางจุลทรรศน์อิเล็คตรอน เช่น ลักษณะการเกาะกลุ่มของ nuclear chromatin ใกล้กับ nuclear membrane เป็นต้น (Noteborn&Koch, 1995) |
การชันสูตรโรค
การชันสูตรโรคที่รวดเร็วและแม่นยำ จะช่วยให้การควบคุมและป้องกันโรคได้ดีขึ้น ทำให้การสูญเสียทางเศรษฐกิจลดลง (McIlroy et al.,1992)
1. โรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกัน
- โรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ (Infectious bursal disease, IBD)
- โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease, MD)
- การติดเชื้อ Osteopetrosis virus
- การติดเชื้อ Erythroblastosis virus
- การติดเชื้อ adenovirus ชนิดที่ทำให้เกิด Inclusion body hepatitis
- โรคลิวโคไซโตซูโนซิส (Leucocytozoonosis)
- โรคมาเลเรียในสัตว์ปีก (Avian malaria)
- การขาดวิตามินเค
- การเป็นพิษจาก sulfur, mycotoxin และ trichloroethylene
2. การซักประวัติ
- มักพบว่าปัญหา เกิดจากแม่พันธุ์สาวในช่วงอายุ 27-36 สัปดาห์ โดยเฉพาะที่เลี้ยงในฟาร์มหรือโรงเรือนใหม่ (Sander et al.,1997) และในกรณีที่เลี้ยงลูกไก่ซึ่งฟักจากแม่พันธุ์หลายฝูงรวมกัน จะพบโรคในลูกไก่จากแม่พันธุ์ที่มีการติดเชื้อ CAV ในระยะไข่เท่านั้น ลูกไก่อื่นที่เลี้ยงรวมกันจะไม่แสดงอาการป่วย (Bisguard,1983; Engstrom& Luthman,1984; Yuasa et al.,1987; Vielitz&Landgraf,1988; Chettle et al.,1989)
- อัตราการตายในลูกไก่เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันสูงขึ้น (อาจถึง 10 เท่าของอัตราตายที่พบตามปกติ) ในท้องที่มักพบโรคในลูกไก่อายุตั้งแต่ 3-15 สัปดาห์ และพบบ่อยที่อายุ 5-9 สัปดาห์ (Yuasa,1989) เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มบกพร่องซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส IBD, MD, สารพิษ ความเครียด และอื่นๆ นอกจากนั้นมักพบหย่อมเลือดออก ร่วมกับสภาวะโลหิตจาง และอาจพบผิวหนังอักเสบแบบมีเนื้อตาย (gangrenous dermatitis )
-ให้ดูประวัติการตรวจซีรั่มของฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ ต่อเชื้อ CAV โดยจะพบว่าในช่วงก่อนเกิดปัญหา ไก่พ่อแม่พันธุ์ไม่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV แต่หลังจากพบโรคในลูกไก่ จะตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV ในซีรั่มไก่พ่อแม่พันธุ์
3. อาการ
ลูกไก่อายุ 1-2 สัปดาห์ จะมีสภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดสินจากค่า hematocrit ที่ต่ำกว่า 25% (Rosenberger& Cloud,1989a) หรือ 27% (Yuasa et al.,1979) อย่างไรก็ตามการใช้ค่า hematocrit ดังกล่าวแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากการติดเชื้อ CAV เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องคำนึงถึงด้วย เช่น สายพันธุ์ อายุ อาหาร และการจัดการฟาร์ม (Goodwin&Brown,1992; Goodwin et al.,1992b) รวมทั้งการติดเชื้อชนิดอื่น และสารพิษต่างๆ (Taniguchi et al.,1982) Goodwin et al., (1992a) รายงานค่า hematocrit ที่บ่งชี้ว่ามีสภาวะโลหิตจางในไก่เนื้ออายุ 3, 7, 14, 21, 28, 35, 42 และ 49 วัน เท่ากับหรือน้อยกว่า 26%, 29%, 33%, 32%, 33%, 33%, 31% และ 28% ตามลำดับ นอกจากนั้นการตัดสินสภาวะโลหิตจางจากค่า hematocrit ดังกล่าวจะต้องคำนึงถึง ชนิด อายุของลูกไก่ ตลอดจนสัดส่วนของสภาวะโลหิตจางที่พบในฝูงเช่น ในฝูงลูกไก่ปกติมักพบว่ามีสภาวะโลหิตจาง 2.5%ของลูกไก่ทั้งฝูง ส่วนฝูงที่มีปัญหาจะมีสภาวะโลหิตจางมากกว่า 2.5%ของลูกไก่ทั้งฝูง
4. การตรวจทางพยาธิวิทยาและจุลพยาธิวิทยา
รอยโรคที่พบอย่างชัดเจนได้แก่ ต่อมไทมัสฝ่ออย่างรุนแรง ไขกระดูกสีเหลืองซีด จุดเลือดออกที่กล้ามเนื้ออก กล้ามเนื้อขา และกระเพาะแท้ อาจพบจุดเลือดออกหรือการบวมน้ำที่ใต้ผิวหนังบริเวณหัว โคนปีกและขา การบวม และซีดของ ตับ ม้าม และไต ต่อมเบอร์ซ่าฝ่อ การลอกหลุดของกระเพาะบด และบางครั้งอาจพบว่าหัวใจมีรูปร่างค่อนข้างกลม ทางจุลพยาธิวิทยาพบ hematipoietic cells ในไขกระดูกลดลง และมี adipose tissue เข้ามาแทน lymphocytes ที่ต่อมไทมัส ไขกระดูก ม้าม ต่อมเบอร์ซ่า และ cecal tonsils หายไป และอาจพบการบวมของเซลล์ตับ (Tanigushi et al.,1982)
5. การตรวจทางห้องปฎิบัติการไวรัส
ตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจ : ต่อมไทมัส เลือด อุจจาระ ตับ ม้าม ไขกระดูก
วิธีการตรวจ
การแยกเชื้อไวรัส
1. ใช้เซลล์เพาะเลี้ยง MDCC-MSB1 โดยต้องเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ผ่านเชื้อไว้ทุก 2-3 วัน เป็นจำนวน 5-10 passages และตรวจดู การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (cytopathic effect) เซลล์ที่ติดเชื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและตาย ซึ่งสังเกตได้ จากน้ำยาที่ใช้เพาะเลี้ยงเซลล์เปลี่ยนเป็นสีแดง
2. ใช้ไข่ไก่ฟักชนิด SPF โดยการฉีดเข้าไข่แดง (yolk sac inoculation)ของคัพภะไก่อายุ 6 วันตรวจดูอาการและวิการของลูกไก่หลังจากฟักเมื่ออายุประมาณ 10-15 วัน
3. ใช้ลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน โดยการฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าช่องท้อง แล้วตรวจดูอาการ วิการของลูกไก่
โดยทั่วไปมักไม่นิยมใช้วิธีการแยกเชื้อไวรัสเนื่องจากวิธีการตรวจยุ่งยาก และใช้เวลานาน
การตรวจไวรัสแอนติเจน
1. indirect immunofluorescent antibody test ( IFA )
2. polymerase chain reaction ( PCR ) assay
3. DNA probe
การตรวจทางซีรั่มวิทยา
1. serum neutralization ( SN )
2. indirect immunofluorescent antibody technique ( IFA )
3. indirect immunoperoxidase assay ( IIP )
4. enzyme--linked immunosorbent assay ( ELISA )
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการติดเชื้อ CAV
การติดเชื้อ CAV ในแนวตั้งผ่านทางแม่ไก่ (vertical transmission) ซึ่งทำให้ลูกไก่ที่ฟักเป็นปกติแต่จะแสดงอาการป่วยเมื่ออายุ 10-14 วัน ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างชัดเจนจาก อัตราตายของลูกไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตลดลง ค่าใช้จ่ายในการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน McIlroy et al. (1992) รายงานจากการเกิดโรค CIA ในไก่เนื้อ 15 ฝูง ซึ่งมีลูกไก่ที่ติดเชื้อผ่านทางแม่พันธุ์ รวมอยู่ด้วย 29 % มีผลให้รายรับต่ำกว่าปกติ 17.3-19.6% ต่อไก่ 1000 ตัว น้ำหนักเฉลี่ยไก่ต่ำกว่าฝูงปกติ 3.3-3.5% และอัตราการตายสูงกว่าฝูงปกติ 2.0-2.3% โดยไม่มีผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (feed-conversion ratio) ในรายที่มีการระบาดรุนแรงน้ำหนักเฉลี่ยไก่อาจลดลงถึง 7-12% (Chettle et al.,1989)
ส่วนการติดเชื้อ CAV ในแนวนอน (horizontal transmission) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นชนิดไม่แสดงอาการนั้น ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ว่าจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อเศรษฐกิจการเลี้ยงไก่หรือไม่ McNulty et al.(1991) ศึกษาผลกระทบจากการติดเชื้อ CAV ชนิดไม่แสดงอาการพบว่าฝูงไก่เนื้อที่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV มีน้ำหนักเฉลี่ยไก่ต่ำกว่าฝูงที่ไม่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV และมีผลให้รายได้ลดลง 13% ต่อไก่ 1000 ตัว ซึ่งขัดแย้งกับที่ Goodwin et al. (1993) รายงานว่าไม่มีความแตกต่างของ น้ำหนักเฉลี่ยไก่ อัตราการตายและอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร ระหว่างฝูงไก่เนื้อทั้งที่มีและไม่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV และที่ Jorgensen et al. (1995) รายงานว่าการติดเชื้อ CAV, IBDV, adenovirus และ reovirus ชนิดไม่แสดงอาการ ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเลี้ยงไก่ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อ CAV ชนิดไม่แสดงอาการนั้นจะมีผลกระทบหรือไม่นั้น คงจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น สเตรนและปริมาณของเชื้อที่ได้รับ สายพันธุ์และอายุไก่ สภาพโรงเรือน อาหาร และการจัดการฟาร์ม
การควบคุมและป้องกัน
1. เมื่อพบว่าอัตราการตายของลูกไก่อายุประมาณ 1 สัปดาห์สูงกว่าปกติ โดยมีสภาวะโลหิตจางร่วมด้วย ต้องรีบตรวจยืนยันเพื่อหาสาเหตุ ถ้าพบว่าเกิดจากเชื้อ CAV ควรให้ยาปฏิชีวนะในฝูงไก่ป่วยเพื่อลดความเสียหายจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน นอกจากนั้นต้องติดตามว่าฝูงไก่แม่พันธุ์ใดที่มีการติดและแพร่เชื้อ เพื่อให้ยาปฏิชีวนะโดยผสมในอาหารลูกไก่ที่ฟักจากฝูงดังกล่าวตั้งแต่อายุ 1 วัน จะช่วยลดการสูญเสียลงได้มาก (McIlroy et al.,1992)
2. ควรมีประวัติการตรวจทางซีรั่มวิทยาเพื่อให้ทราบสภาวะภูมิคุ้มของฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ และควรให้แม่ไก่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV โดยเฉพาะในระยะก่อนไข่
3. การจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลที่ดี จะช่วยป้องกันไม่ให้ฝูงไก่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจาก ความเครียดและการติดเชื้อต่างๆ
วัคซีนป้องกันโรค CIA
หลังจากเกิดการระบาดของโรคในระยะแรกๆ มีการใช้วิธีต่างๆในการป้องกันโรค โดยให้ฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ได้รับเชื้อเพื่อให้มีการสร้างแอนติบอดีก่อนถึงระยะไข่ เช่นการผสมวัสดุรองพื้นจากฝูงไก่ที่ติดเชื้อ (infected litter) กับวัสดุรองพื้นของฝูงไก่แม่พันธุ์รุ่นทดแทน และการให้ฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์กินตับบด(crude liver homogenates) จากลูกไก่ป่วย โดยผสมในน้ำ (Verlitz&Landgraft,1988) ซึ่งแม้ว่าจะใช้ได้ผลดีแต่ก็เป็นการเสี่ยงต่อการได้รับเชื้ออื่นที่ไม่พึงประสงค์ (B�low&Schat,1997)
ปัจจุบันมีวัคซีนที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายเพียง 2 ชนิดเป็นวัคซีนเชื้อเป็นจากประเทศเยอรมันซึ่งใช้โดยการผสมน้ำกิน (Vielitz et al.,1989; Vielitz&VoB,1994) และจากประเทศเนเทอร์แลนด์ซึ่งใช้โดยการฉีด (Steenhuisen et al.,1994) การใช้วัคซีนดังกล่าวต้องกระทำอย่างระมัดระวังเนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ยังคงมีความรุนแรงอยู่ ซึ่งจะมีผลให้เกิดระบบภูมิคุ้มบกพร่องในลูกไก่อายุ 3 สัปดาห์โดยที่ไม่แสดงอาการป่วยใดๆ (McConnell et al., 1993 a,b) ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนเชื้อตายเนื่องจากไม่สามารถผลิตให้เชื้อมีปริมาณสูงมากพอ ส่วนวัคซีนชนิด recombinant, vector หรือ subunit ซึ่งอาจใช้เป็นวัคซีนในอนาคตนั้น ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ (Noteborn&Koch,1995)
สภาวะการณ์เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโลหิตจางในประเทศไทย
พ.ศ. 2534 |
จากการสัมนาวิชาการเรื่องโรค IBD, Reovirus และ CAA ณ โรงแรมแม่น้ำ ในเดือนกรกฎาคม Rosenberger ได้ให้ข้อสังเกตจากการตรวจฝูงไก่อายุระหว่าง 2-5 สัปดาห์ ในเขตภาคกลางของประเทศไทยที่สงสัยว่าเป็นโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ(กัมโบโร) ว่าน่าจะมีการติดเชื้อ CAV ร่วมด้วย นอกจากนั้นได้นำไก่ป่วยที่สงสัยดังกล่าวจากฟาร์มไก่ 11 แห่ง มาตรวจหาค่า hematocrit และทำการผ่าซากที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าค่าhematocrit ต่ำมาก ไขกระดูกซีด และต่อมไทมัสฝ่อ (เกรียงศักดิ์, 2536) อย่างไรก็ตามไม่มีการตรวจยืนยันทางด้านซีรั่มวิทยาและไวรัสวิทยา |
พ.ศ. 2537 | กลุ่มงานไวรัส สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ เริ่มศึกษาวิธีการแยกเชื้อ CAV โดยใช้เซลล์MDCC-MSB1 ด้วยวิธี microtest method (Imai & Yuasa,1990)จากตัวอย่าง ตับ เม็ดเลือดแดงและอุจจาระ ของลูกไก่ปกติจำนวน 3-6 ตัวเมื่ออายุ 3, 4, 5 และ 6 สัปดาห์ โดยสุ่มจากฟาร์มไก่เนื้อ 2 แห่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และลพบุรี แต่ตรวจไม่พบเชื้อ ในขณะเดียวกันก็ศึกษาการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV ด้วยวิธี IFA (Yuasa et al.,1985) โดยเก็บตัวอย่างซีรั่มจากลูกไก่ทุกตัวที่ใช้ในการทดลองแยกเชื้อ และจากพ่อแม่พันธุ์ของลูกไก่แต่ละฝูงๆละ 20 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่าลูกไก่ไม่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV แต่พ่อแม่พันธุ์ของลูกไก่แต่ละฟาร์ม มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV คิดเป็น 80 % และ 40% ซึ่งแสดงว่าพ่อแม่พันธุ์ดังกล่าวเคยมีการติดเชื้อ CAV และถ่ายทอดภูมิคุ้มมายังลูกไก่ ( maternally derived antibody) :ซึ่งหมดไปเมื่อลูกไก่อายุประมาณ 3 สัปดาห์ นอกจากนั้นเนื่องจากฟาร์มไก่เนื้อทั้ง 2 แห่ง เป็นโรงเรือนระบบปิด (evaporation) และมีการจัดการฟาร์มที่ดี ลูกไก่ไม่มีการติดเชื้อ CAV จึงตรวจไม่พบเชื้อ |
พ.ศ. 2538 | กลุ่มงานไวรัส สถาบันสุขภาพสัตว์ฯ ได้รับตัวอย่างไก่ป่วยอายุตั้งแต่ 1- 7 สัปดาห์หลายราย ซึ่งสงสัยว่ามีการติดเชื้อ CAV โดยมีอาการ ซึม ผอม ซีด ค่า hematocrit ต่ำ ผ่าซากพบต่อมไทมัสฝ่อ และมีจุดเลือดออกที่กล้ามเนื้ออกและขา จากการตรวจแยกและพิสูจน์เชื้อไวรัส พบเชื้อ CAV ซึ่งเมื่อนำไปฉีดเข้าไข่ไก่ฟัก SPF ทำให้ลูกไก่ป่วยหลังจากฟัก 5-10 วันโดยมีสภาวะโลหิตจาง ค่า hematocrit ต่ำ และตายโดยพบว่าต่อมไทมัสฝ่อเช่นเดียวกัน (อุราศรีและคณะ 2539) การตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV โดยวิธี IFA และ ELISA (commercial kit) จากไก่พ่อแม่พันธุ์ 6 ฟาร์มๆละ 20-54 ตัวอย่าง ในเขตจังหวัด ปทุมธานี ปราจีนบุรี ลพบุรี และนครราชสีมาพบแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV ใน 5 ฟาร์มโดยมีสัดส่วนต่างๆกันตั้งแต่ 40% - 95% |
พ.ศ.2539-2540 |
การตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV โดยวิธี ELISA (commercial kit) จากไก่พ่อแม่พันธุ์ 11 ฟาร์มๆละ 31-480 ตัวอย่าง ในเขตจังหวัด ชลบุรี สระบุรี และนครราชสีมา พบแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV ทุกฟาร์มโดยมีสัดส่วนต่างๆกันตั้งแต่ 50% - 100% |
พ.ศ.2540 |
ในช่วงปลายปีขณะที่กลุ่มงานไวรัส สถาบันสุขภาพสัตว์ฯ ศึกษาวิธี polymerase chain reaction (PCR) เพื่อพัฒนาการชันสูตรโรคไวรัสในสัตว์ปีก ก็ได้รับตัวอย่างไก่ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ CAV จากฟาร์มไก่เนื้อ 2 แห่ง อายุตั้งแต่ 13-47 วันและ 21-28 วัน โดยมีการอักเสบของผิวหนังแบบมีเนื้อตายร่วมด้วย จึงทดลองใช้วิธี PCR ในการตรวจตัวอย่างดังกล่าวและพบ CAV ในตับไก่ปวยจำนวน 4 จาก 5 ตัวอย่างที่ทำการตรวจ อย่างไรก็ตามยังไม่ได้นำวิธีนี้มาใช้ในการให้บริการชันสูตรโรคโดยทั่วไป |
พ.ศ.2541 |
มีการนำเข้าวัคซีน CAV จากต่างประเทศ โดยมีข้อบ่งใช้สำหรับการสร้างภูมิคุ้มให้กับไก่พ่อแม่พันธุ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มต่อเชื้อ CAV เมื่ออายุ 12 สัปดาห์ |
จากผลการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV ในฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์เนื้อ ไข่ และพื้นเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2540 บ่งชี้ว่ามีการแพร่กระจายของเชื้อ CAV ทั่วไปโดยเฉพาะในเขตเลี้ยงไก่หนาแน่น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดโรคในลูกไก่จากการติดเชื้อผ่านทางแม่พันธุ์ดังกล่าวจึงน่าจะลดลง ขณะเดียวกันลูกไก่ก็ได้รับแอนติบอดีผ่านจากแม่ไก่ ทำให้ปลอดภัยจากการเสียหายของระบบภูมิคุ้มเนื่องจากการติดเชื้อ CAV ในช่วงสัปดาห์แรกของอายุ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการติดเชื้อ CAV ในระยะต่อไปจึงควรมีการจัดการเพื่อให้แน่ใจว่าฝูงไก่พ่อแม่พันธุ์ (โดยเฉพาะฝูงไก่สาวและฝูงที่เลี้ยงในโรงเรือนใหม่ หรือในฟาร์มใหม่ ) มีแอนติบอดีต่อเชื้อ CAV นอกจากนั้นควรมีการจัดการฟาร์มที่ดี ตลอดจนการเลือกใช้ชนิดและโปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ลูกไก่เกิดสภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดปัญหาซับซ้อนและเกิดการสูญเสียเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระยะที่ประเทศของเรากำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยอยู่ในขณะนี้
เอกสารอ้างอิง
เกรียงศักดิ์ พูลสุข 2536 (1993). โรคเลือดจางในไก่ ในหนังสือโรคติดเชื้อในไก่. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า : 8-14.
อุราศรี ตันตสวัสดิ์, พรทิพย์ ศิริวรรณ์ และ อารุณี ชัยสิงห์ 2539 (1996). การศึกษาเชื้อไวรัสโลหิตจางติดต่อในไก่ทางไวรัสวิทยาและซีรั่มวิทยา สัตวแพทยสาร 47(3-4) : 45-56.
Adair, B.M., McNeilly, F., McConnell, C.D.G. and McNulty, M.S. 1993. Characterization of surface markers present on cells infected by chicken anemia virus in expermentally infected chickens. Avian Dis. 37 : 943-950.
Al-Ankari, A.S., Awaad, M.H.H., El- Shazly, M.O. and Al- Ramadan, M.A. 1996. Chicken anaemia virus outbreak in chickens in Saudi Arabia. Veterinary Medical Journal Giza. 44(3) : 557-562.
Avram, E. and Avram, N. 1997. Avian infectious anemia. Anemia infectiosโ aviar?. Revista Rom de Medicin? Veterinara. 7(1) : 57-60.
B� low, V.v. and Schat, K.A. 1997. Chicken infectious anemia. In : Diseases of Poultry, 10th ed , B.W.
Calnek, H.J. Barnes, C.W. Beard, L.R. McDougald and Y.M.Saif (eds.) Iowa State University Press, Ames, Iowa, USA pp. 739-756.
B� low, V.v., Fuchs, B., Vielitz, E. and Landgraf, H., 1983. Fr� hsterblichkeitssyndrom bei K� ken nach Doppelinfektion mit dem Virus der Marekschen Krankheit(MDV) und einem Anไ mie-Erreger (CAA). Zentralbl Veterinไ rmed [B]. 30 : 742-750.
Bisgaard, M. 1983. An age related and breeder flock associated hemorrhagic disorder in Danish broilers. Nord. Vet. Med. 35 : 397-407.
Brentano, L., Mores, N., Wentz, I., Chandratilleke, D. and Schat, K.A. 1991. Isolation and identification of chicken infectious anemia virus in Brazil. Avian Dis. 35 : 793-800.
Buscaglia, C., Crosetti, C.F. and Nervi, P. 1994. Identification of chicken infectious anaemia, isolation of the virus and reproduction of the disease in Argentina. Avian Pathol. 23 : 297-304.
Chettle, N.J., Eddy, R.K., Wyeth, P.J. and Lister S.A. 1989. An outbreak of disease due to chicken anaemia agent in broiler chickens in England. Vet. Rec. 124 : 211-215.
Engstr๖ m, B.E. and Luthman, M. 1984. Blue wing disease of chickens : Signs, pathology and natural transmission. Avian Pathol. 13 : 1-12.
Engstrom, B.E. 1988. Blue wing disease of chickens : Isolation of avian reovirus and chicken anemia agent. Avian Pathol. 17 : 23-32.
Farkas, T., Dren, Cs., Nemeth, I., Dobos-Kovแcs, M., Povazsแn, J. and Sแghy, E. 1992. Isolation of chicken anaemia virus from broiler chickens. Acta Vet Hung. 40 : 207-223.
Firth, G.A. and Imai, K. 1990. Isolation of chicken anaemia agent from Australian poultry. Aus. Vet. J. 67(8) : 301-302.
Gelderblom, H., Kling, S., Lurz, R., Tischer, I. and B� low, V.v.,1989. Morphological characteriza-tion of chicken anaemia agent (CAA) .Arch Virol. 109 : 115-120.
Goldstein, P. Ojcius,D.M. and Young,D.E.1991.Cell death and the immune system. Immunological Reviews 121 : 29-65.
Goodwin, M.A.and Brown, J. 1992. Inability of so-called chicken anaemia agent (CAA) infections to be diagnosed by anemia and hematopoietic organ atrophy alone. 1992. Avian Dis 36 : 353-355.
Goodwin, M.A., Brown, J., Miller, S.L., Smeltzer, M.A., Steffens, W.L. and Waltman, W.D. 1989. Infectious anemia caused by a parvovirus-like virus in Georgia broilers. Avian Dis. 33 : 438-445.
Goodwin, M.A, Davis J.F.and Brown,J. 1992a. Pack cell volume referene intervals to aid in diagnosis of anemia and polycythemia in young broiler chickens. Avian Dis 36 : 440-443.
Goodwin, M.A., Brown, J, Davis J.F., Girshick,T., Miller, S.L., Nordgren,R.M. and. Rodenberg,J. 1992b. Comparisions of packed cell volumes (PVCs) from so-called chicken anaemia agent (CAA;virus)-free broilers to PCVs from CAA-free specific-pathogen-free leghorns. 1992b. Avian Dis 36 : 1063-1066.
Goodwin, M.A., Smeltzer, M.A., Brown, J., Girshick, T., McMurray, B.L. and McCarter, S. 1993 Effect of so-called chicken anemia agent maternal antibody on chick serologic conversion to viruses in the field. Avian Dis. 37 : 542-545.
Goryo, M., Suwa, T., Matsumoto, S., Umemura, T. and Itakura, C. 1987. Serial propagation and purification of chicken anaemia agent in MDCC-MSB1 cell line . Avian Pathol. 16 : 149-163.
Goryo, M., Suwa, T., Umemura, T., Itakura, C. and Yamashiro,S. 1989. Ultrastructure of bone marrow in chicks inoculated with chicken anaemia agent (MSB1-TK5803 strain). Avian Pathol. 18 : 329-343.
Hoop, R.K., 1992. Persistence and vertical transmission of chicken anaemia agent in experimentally infected laying hens. Avian Pathol. 21 : 493-501.
Hoop, R.K., 1993. Transmission of chicken anaemia virus with semen. Vet. Rec. 133 : 551-552.
Hu,L.-b., Lucio, B. and Schat, K.A. 1993. Abogation of age-related resistance to chicken infectious anemia by embryonal bursectomy. Avian Dis. 37 : 157-169.
Imai, K. and Yuasa, N. 1990. Development of a microtest method for serological and virological examinations of chicken anaemia agent. Jpn.J.Vet.Sci. 52(4):873-875.
Imai, K., Maeda, M. and Yuasa, N. 1991. Immunoelectron microscopy of chicken anemia agent. J. Vet. Med. Sci. 53(6) : 1065-1067.
Jeurissen, S.H.M., Wagenaar,F., Pol, J.M.A., van der Eb,A.J. and Noteborn, M.H.M. 1992. Chicken anaemia virus cause apoptosis of thymocutes after in vivo infection and of cell lines after in vitro infection, J. Virol. 66 : 7383-7388.
Jorgensen, P.H., Otte,L., Nielsen, O.L. and Bisgaard,M. 1995.Influence of subclinical virus infections and other factors on broiler flock performance.British Poultry. Science 36 : 455-463.
Lukert, P., de Boer,G. F., Dale, J.L., Keese, M.S., McNulty, M.S. Randles, J.W. and Tischer,I. 1995. Family circoviridae. In : Virus Taxonomy-Classification and nomenclature of virus,6th Report of the International Committee on Taxonomy of Viruses.
F.A. Murphy, C.M. Fauquet, D.H.L. Bishop,S.A. Ghabrial, A.W. Jarvis, G.P. Martelli, M.A. Mayo and M.D. Summers (eds.). Springer- Verlag, Vienna, pp. 166-168.
McConnell, C.D.G., Adair,B.M. and McNulty, M.S. 1993a. Effects of chicken anaemia virus on macrophage function in chickens. Avian Dis. 37 : 358-365.
McConnell, C.D.G., Adair,B.M. and McNulty, M.S. 1993b. Effects of chicken anaemia virus on cell-mediated immune function in chickens exposed to the virus by a natural route. Avian Dis 37:366-374.
McIlroy, S.G., McNulty, M.S., Bruce,D.W., Smyth,J.A., Goodall, E.A. and Alcorn, M.J. 1992. Economic effects of clinical chicken anemia agent infection on profitable broiler production. Avian Dis. 36 : 566-574.
McNulty, M.S., Connor, T.J., McNeilly, F., Kirkpatrick, K.S. and McFerran, J.B. 1988. A sero logical survey of domes- tic poultry in the United Kingdom for antibody to chicken anemia agent. Avian Pathol. 17 : 315-324.
McNulty, M.S., Connor, T.J., McNeilly, F., and Spackman, D. 1989. Chicken anemia agent in the United States : Isolation of the virus and detection of antibody in broiler breeder flocks. Avian Dis. 33 : 691-694.
McNulty, M.S., Curran, W.L., Todd, D. and Mackie, D.P. 1990a. Chicken anemia agent : An electron microscopic study. Avian Dis. 34 : 736-743.
McNulty, M.S., Connor, T.J. and McNeilly, F. 1990b. Influence of virus dose on experimental anaemia due to chicken anemia agent. Avian Dis. 34 : 352-358.
McNulty, M.S., McIlroy, S.G., Bruce,D.W. and Todd, D. 1991. Economic effects of subclinical chicken anemia agent infection in broiler chickens. Avian Dis. 35 : 263-268.
Nicholas, R.A.J., Westbury, B., Goddard, R.D. and Luff, P.R. 1989. Survey of vaccines and SPF flocks for contamination with chick anemia agent. Vet. Rec. 124 : 170-171.
Noteborn, M.H.M. and Koch, G. 1995.Chicken anaemia virus infection : Molecular basis of pathogenicity Avian Pathol. 24 : 11-31.
Otaki, Y., Saito, K., Tajima, M. and Nomura, Y. 1992. Persistence of maternal antibody to chicken anaemia agent and its effect on the susceptibility of young chickens. Avian Pathol. 21 : 147-151.
Picault, J.P., Toquin, D., Plassiart, G., Drouin, P., Toux, J.-Y., Wyers, M., Guitter, M. and Bennejean, G. 1992. Reproduction experimentale de l’anemie infectieuse aviaire et mise en evidence du virus en France เ partir de prel่ vements de poulets presentant la “maladie des ailes bleues.” Rec. Med. Vet. 168 : 815-822.
Rosenberger, J.K. and Cloud, S.S. 1989a. The isolation and characterization of chicken anemia agent (CAA) from broilers in the United Stated . Avian Dis. 33 : 707-713.
Rosenberger, J.K., and Cloud, S.S. 1989b. The effects of age, route of exposure, and coinfection with infectious bursal disease virus on the pathogenicity and transmissibility of chicken anemia agent (CAA). Avian Dis. 33 : 753-759.
Rozanah,, A.S., Aini, I., Al-Ajeeli, K. S., Jalila, A. and Salim, N.B. 1995. Detection of chicken anaemia virus in flocks of comercial chicken in Malaysia. Jurnal Veterinar Malaysia. 7(2) : 77-79.
Sander, J., Williams, R., Novak, R. and Ragland, W. 1997. In Situ hybridization on blood smears for diacnosis of chicken anemia virus in broiler breeder flocks. Avian Dis. 41 (4) : 988-992.
Seong, H.W., Song, C.S., Kim, J.H. and Kim, S.J. 1996. Detection of chicken infectious anaemia virus by a polymerase chain reaction and immunoperoxidase staining with a monoclonal antibody. RDA Journal of Agricultural Science, Veterinary. 38 (2) : 669-706.
Smyth, J.A., Moffett, D.A., McNulty, M.S., Todd,D. and Mackie, D.P. 1993. A Sequential histopathologic and immunocytochemical study of chicken anemia virus infection at one day of age. Avian Dis. 37 : 324-328.
Stanislawek, W.L. and Howell, J. 1994. Isolation of chicken anaemia virus from broiler chickens n New Zealand. N.Z. Vet. J. 42 : 58-62.
Steenhuisen, W., Jagt, H.J.M. and Schrier, C.C. 1994. The use of a live attenuated CAV vaccine in breeder flocks in the Netherland. Proc Int Symp Infect Bursal Dis Chick Infect Anaemia, Rauischholzausen, Germany. pp. 482-497.
Taniguchi, T., Yuasa, N., Maeda, M. and Horiuchi, T. 1982. Hematopathological changes in dead and moribund chicks induced by chicken anemia agent. Natl. Inst. Anim. Health Q. (Jpn.). 22 : 61-69.
Taniguchi, T., Yuasa, N., Maeda, M. and Horiuchi, T. 1983. Chronological observations on hematopathological changes in chicks inoculated with chicken anemia agent. Natl. Inst. Anim. Health Q.(Jpn.). 23 : 1-12.
Taylor, S.P. 1992. The effect of acetone on the viability of chicken anemia agent. Avian Dis. 36 : 753-754.
Todd, D., Niagro, F.D., Ritchie, B.W., Curran, W., Allan, G.M., Lukert, P.D., Latimer, K.S., SteffensIII, W.L. and McNulty, M.S. 1991. Comparison of three animal viruses with circular single-strained DNA genomes. Arch. Virol. 117 : 129-135.
Toro, H., McNulty, M.S., Hidalgo, H., Rosende, S. and Connor, T.J. 1994. Detection of chicken anemia virus antibodies in four poultry operations in Chile. Prev. Vet. Med.. 21 : 103-106.
Toro,H., Ramrez, A.M. and Larenas, J. 1997. Pathogenicity of chicken anaemia virus (isolate 10434) for young and older chickens. Avian Pathol. 26 : 485-499
Urlings, H.A., de Boer G.F., van Roozelaar, D.J. and Koch, G. 1993. Inactivation of chicken anaemia virus in chickens by heating and fermentation. Vet. Q. 15(3) : 85-88.
Vielitz, E. and Landgraf. H. 1988. Anaemia-dermatitis of broiler : Field observations on its occurrence, transmission and prevention. Avian Pathol. 17 : 113-120.
Vielitz, E. and Vob, M. 1994. Experiences with a commercial CAV vaccine. Proc Int. Symp. Infect Bursal Dis. Chick Infect Anaemia, Rauischolzkhausen, Germany. pp. 465-481.
Vielitz, E., Bulow,V.v. and Conrad, C. 1989. CAA : Experiences with an experimental vaccine. Proc. 38th West Poult Dis. Conf., March 6-9, Tempe, Arizona. pp. 29-34.
Wicht, J.V. and Maharaj, S.B. 1993. Chicken anaemia agent in South Africa. Vet. Rec. 133 : 147-148.
Wieliczko, A., Mazurkiewicz, M., and Jurowski, J., 1996. Chicken anaemia virus infections. Zakazenie kur wirusem anemii zakaznej (CAV). Medycyna Weterynaryjna. 52 (7) : 446-447.
Woods, L.W., Latimer, K.S. Niagro, F.D., Riddell, C. Crowley, A.M., Anderson, M.L., Daft, B.M. Moore, J.D., Campagnoli, R.P. and Nordhauseri, R.W. 1994. A retrospective study of circovirus infection in pigeons : nine cases (1986-1993). J. Vet. Diagn. Invest. 6 : 156-164.
Yuasa, N. 1983. Propagation and infectivity titration of the Gifu-1 strain of chicken anemia agent in a cell line (MDCC-MSB1) derived from Marek’s disease lymphoma. Natl. Inst. Anim. Health Q.(Jpn.). 23 : 13-20.
Yuasa, N. 1989. Chicken anemia agent : Review and recent problems. Proc. 38th West Poult Dis. Conf, March 6-9, 1989, Tempe, Arizona, pp. 14-20
Yuasa, N. 1992. Effect of chemicals on the infectivity of chicken anaemia virus. Avian Pathol. 21 : 315-319.
Yuasa, N. and Imai, K. 1986. Pathogenicity and antigenicity of eleven isolates of chicken anaemia agent (CAA). Avian Pathol. 15 : 639-645.
Yuasa, N. and Yoshida, I. 1983. Experimental egg transmission of chicken anemia agent. Natl. Inst. Anim. Health. Q. (Jpn.).23 : 99-100.
Yuasa, N., Taniguchi, T. and Yoshida, I. 1979. Isolation and some characteristics of an agent inducing anemia in chicks. Avian Dis. 23(2) : 366-385
Yuasa, N., Noguchi, T. Furuta,K. and Yoshida, I. 1980. Maternal antibody and its effect on the susceptibility of chicks to chicken anemia agent. Avian Dis. 24 : 197-201.
Yuasa, N., Taniguchi, T., Goda, M., Shibatani, M., Imada, T. and Hihara, H. 1983a. Isolation of chicken anemia agent with MDCC-MSB1 cells from chickens in the field. Natl. Inst. Anim. Health. Q. (Jpn.). 23 : 75-77
Yuasa, N., Taniguchi, T., Imada, T. and Hihara, H. 1983b. Distribution of chicken anemia agent (CAA) and detection of neutralizing antibody in chicks experimentally inoculated with CAA. Natl. Inst. Anim. Health. Q. (Jpn.). 23 : 78-81.
Yuasa, N. Imai, K. and Tezuka, H. 1985. Survey of antibody against chicken anaemia agent (CAA) by an indirect immunofluorescent antibody technique in breeder flocks in Japan. Avian Pathol. 14 : 521-530.
Yuasa, N. Imai, K., Watanabe, K., Saito, F., Abe, M. and Komi, K. 1987. Aetiological examination of an outbreak of haemorrhagic syndrome in a broiler flock in Japan. Avian Pathol. 16 : 521-526.
Yuasa, N., Imai, K. and Nakamura, K. 1988. Pathogenicity of chicken anemia agent in bursectomised chickens. Avian Pathol. 17 : 363-369.
Zhou, W., Shen, B., Yang, B., Han, S., Wei, L., Xiao, B. and Zhou, J. 1997. Isolation and identification of chicken infectious anemia virus in China. Avian Dis. 41 (2) : 361-364.
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องโรคอินเฟคเชียสอะนีเมีย ในการประชุมวิชาการเรื่องสถานภาพโรคไก่และการจัดการ
จัดโดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมอาคารสถาบัน 3 วันที่ 22-24 เมษายน 2541