ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรสายพันธุ์ประเทศไทย

สพ.ญ.สุจิรา ปาจาริยนนท์

กลุ่มงานไวรัสวิทยา สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

          สุกรเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญยิ่งในประเทศ เพราะนอกจากจะทำรายได้ให้แก่เกษตรกรปีละไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาทแล้ว ยังมีส่วนทำให้เกษตรกรขายผลผลิตทางการ เกษตรได้ปีละกว่า 4 ล้านตัน รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์สุกรเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย การลดปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อการผลิต โดยการทำให้ปลอดจากโรคติดต่อที่สำคัญโดยเฉพาะโรคอหิวาต์สุกรซึ่งเป็นโรคระบาดร้ายแรงที่ทำความเสียหาย ให้แก่วงการอุตสาหกรรมการผลิตสุกรของประเทศมานานกว่า 50 ปี ทางกรมปศุสัตว์โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ได้จัดทำโครงการพัฒนาการควบคุมโรคอหิวาต์สุกร และการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรสายพันธุ์ ประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในโครงการนี้ การศึกษารายละเอียดความแตกต่างของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่ระบาดในประเทศ โดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม สามารถบอกถึงแหล่งที่มาของการระบาดของเชื้อซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลทางด้านระบาดวิทยา สามารถนำไปใช้วางแผน ควบคุมโรค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  • ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่แยกได้ในประเทศไทยและเปรียบเทียบกับ เชื้อที่ระบาดในต่างประเทศ

  • สร้างฐานข้อมูลระบาดวิทยาทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรสายพันธุ์ประเทศไทย

  • ทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศต่อเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรสายพันธุ์ต่างๆที่มีในประเทศไทย ว่าจะให้ความคุ้มหรือไม่

การดำเนินงาน

    1. นำเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรจำนวน 80 ตัวอย่างเชื้อที่แยกได้จากการระบาดในภาคต่างๆทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ 2533-2541 มาเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยง

    2. สกัดแยก RNA จากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีไวรัส และศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมโดยการเพิ่มขยายยีนส์ในหลอดทดลอง (Reverse transcriptase-polymerase chain reaction, RT-PCR) แล้วนำมาศึกษาการเรียงลำดับยีนส์ (gene sequencing)

    3. เปรียบเทียบเปอร์เซนต์ความแตกต่างของยีนส์ของแต่ละตัวอย่างเชื้อที่แยกได้ภายในประเทศและ จากต่างประเทศ และจัดแบ่งเป็นกลุ่ม

    4. ทดสอบความคุ้มโรคของวัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศต่อเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรในแต่ละกลุ่ม

SF-Gene seq4.jpg (21177 bytes)

การดำเนินงาน

  1. นำเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรจำนวน 80 ตัวอย่างเชื้อที่แยกได้จากการระบาด ในภาคต่างๆทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ 2533-2541 มาเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยง

  2. สกัดแยก RNA จากเซลล์เพาะเลี้ยงที่มีไวรัส และศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมโดยการเพิ่มขยายยีนส์ ในหลอดทดลอง (Reverse transcriptase-polymerase chain reaction, RT-PCR) แล้วนำมาศึกษา การเรียงลำดับยีนส์ (gene sequencing)

  3. เปรียบเทียบเปอร์เซนต์ความแตกต่างของยีนส์ของแต่ละตัวอย่าง เชื้อที่แยกได้ ภายในประเทศและจากต่างประเทศ และจัดแบ่งเป็นกลุ่ม

  4. ทดสอบความคุ้มโรคของวัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศต่อเชื้อไวรัส อหิวาต์สุกรในแต่ละกลุ่ม

การเรียงลำดับยีนส์ (Gene Sequencing) ของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร

ผลการดำเนินงาน

จากการใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่แยกได้ในประเทศไทย   พบว่าสามารถแบ่งเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรออกได้เป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 เป็นเชื้อที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร ที่เคยแยกได้ในยุโรปและอเมริกา ซึ่งปัจจุบันยังพบ มีระบาดในประเทศไทย แต่ไม่พบในประเทศทางยุโรป

  • กลุ่มที่ 2เป็นเชื้อที่ตรวจพบในการระบาดครั้งแรกปี พ.ศ 2539 และในปีถัดมามีการแพร่ระบาดของเชื้อกลุ่มนี้ในหลายจังหวัด เชื้อในกลุ่มนี้มีลักษณะใกล้ เคียงกับเชื้อที่ตรวจพบในประเทศอิตาลี

  • กลุ่มที่ 3 เป็นเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่ม 1 และ 2 และไม่มีปรากฏรายงานการตรวจพบเชื้อกลุ่มนี้ในต่างประเทศ

tree3.jpg (26975 bytes)

เชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรจำนวน 80 ตัวอย่างเชื้อที่แยกได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2541 เป็นเชื้อไวรัสใน กลุ่ม 1 17% กลุ่ม 2 50% และกลุ่ม 3 33% และพบว่า เชื้อในกลุ่ม 2 ซึ่ง ตรวจพบในการ ระบาดครั้งแรก ปีพ.ศ.2539 มี การแพร่ระบาด กระจายอย่างรวดเร็วไปในหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนตัวอย่างเชื้อที่พบ ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2541

วิธีการตรวจแยกความแตกต่างทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรนี้ ช่วยให้การชันสูตรโรคและการจัดแบ่ง กลุ่มเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรได้ผลรวดเร็วและแม่นยำ

เชื้อทั้งสามกลุ่มนี้เมื่อนำมาฉีดในสุกรทดลองที่ได้รับวัคซีนอหิวาต์สุกรที่ใช้อยู่ในประเทศ พบว่าวัคซีนสามารถให้ความคุ้มต่อโรคอหิวาต์สุกรที่เกิดจากเชื้อทั้งสามกลุ่มได้

ผลสำเร็จของการวิจัย

จากการดำเนินงานข้างต้น ทำให้จัดเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรที่มีการระบาดในประเทศไทยได้เป็น 3 กลุ่ม และบอกได้ว่า เชื้อที่ตรวจพบนั้นจัดอยู่ในกลุ่มใด มีการระบาดในที่ใดบ้าง ซึ่งสามารถนำผลที่ได้มาใช้สร้างฐานข้อมูลของเชื้อไวรัสอหิวาต์ สุกรในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านระบาดวิทยา ตลอดจนการวางมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคได้ทันเหตุการณ์

ปัญหาและแนวทางแก้ไข

จากการศึกษาพบว่าโรคอหิวาต์สุกรมีการระบาดจากแหล่งหนึ่งและแพร่กระจายไปยังแหล่งอื่นๆ และยังพบเชื้อสายพันธุ์ เดียวกับที่พบในต่างประเทศ จึงควรเพิ่มมาตรการการตรวจสอบ และระบบการควบคุมโรคอย่างจริงจัง โดยระมัดระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์จากบริเวณที่มีโรคระบาด และเข้มงวดในการทำลายสัตว์ป่วย และมีมาตรการ ตรวจสอบกักกันที่รัดกุม สำหรับสุกรที่นำเข้าจากต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการแพร่กระจาย ของเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกรและช่วยลดการนำเชื้อสายพันธุ์ใหม่เข้ามา ในราชอาณาจักร นอกจากนั้นการควบคุม การนำสุกรใหม่เข้าฟาร์ม ควรจะมาจากฟาร์มปลอดโรค และควรมีการทำวัคซีนอหิวาต์สุกร เนื่องจากพบว่าการทำวัคซีนที่มีใช้อยู่ในประเทศสามารถป้องกันโรคได้ทั้งสามกลุ่ม การที่จะทำให้สุกรปลอดโรคได้ วิธีการหนึ่งคือการฉีดวัคซีน ซึ่งจะต้องทำเป็นโปรแกรม และที่สำคัญต้องทำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การดูแลด้านสุขาภิบาลและการจัดการฟาร์มที่ดี จำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของฟาร์มจะต้องมีความรู้พื้นฐาน เช่นการใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมทั้งในสิ่งของ รถหรือคนที่จะเข้าฟาร์ม ตลอดจนการป้องกันพาหะเช่น นก หนู ซึ่งอาจนำเชื้อ เข้ามาในฟาร์มได้ ดังนั้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และการรณรงค์แก้ไขและการดำเนินการ โดยเร่งด่วนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

เอกสารอ้างอิง

Lowings, J.P., Paton, D., Sands, J.J., et al 1994. Classical swine fever virus: genetic detection and analysis of differences between virus isolates. J. Gen. Virol. 75, 3461-3468

Lowings, J.P., Ibata, G., Needham, J. et al 1996. Classical swine fever virus diversity and evolution. J. Gen. Virol 77,1311-1321

Vilcek, S., Stadejek, T., Ballagi-Pordany, A. et al 1996. Genetic variability of classical swine fever virus. Virus Res. 43,137-147