เลี้ยงสัตว์อย่างไรจึงจะปลอดภัยสำหรับคนที่คุณรัก
ผศ.สพ.ญ.ดร.
รสมา ภู่สุนทรธรรม
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม. 10330
เลี้ยงสัตว์ชนิดใดจึงจะเหมาะสมกับคุณ
การจะเลือกสัตว์ชนิดหนึ่งชนิดใดมาเป็นสัตว์เลี้ยงของคุณ
ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง
เช่น
- ความชอบหรือไม่ชอบของคุณ
ลักษณะอุปนิสัยส่วนตัว เช่น
ชอบสุนัขตัวเล็กขนยาวที่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม
หรือสุนัขตัวใหญเพื่อเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน
- คุณมีบริเวณพื้นที่ที่จะใช้เลี้ยงสัตว์
มีขนาดกว้างขวางหรือแคบเพียงใด
มีเนื้อที่เท่าใดที่จะจัดให้เป็นที่อยู่และที่ออกกำลังกาย
สำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ
- ฐานะทางครอบครัวและเศรษฐกิจของคุณ
มีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสัตว์เท่าใด
ต้องใช้งบประมาณมากน้อยเท่าใด
ในการจัดสถานที่เลี้ยง อาหาร
และยา รักษาโรค
ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยงของคุณ
- คุณมีเวลามากน้อยเท่าใดในแต่ละวันที่จะให้ในการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงของคุณ
- เพื่อนบ้านใกล้เคียงของคุณชอบสัตว์เลี้ยงหรือเปล่า
เพื่อนบ้านของคุณสามารถจะทนเสียงหรือยอมรับการเลี้ยงสัตว์ของบ้านคุณได้หรือไม่
- เลือกสัตว์พันธุ์ใดจึงจะเหมาะสมกับคุณ
การจะตัดสินใจเลือกเลี้ยงสัตว์พันธุ์ใด
ควรแน่ใจว่าเหมาะสมกับสภาพการดำเนินชีวิตของคุณในปัจจุบันและในอนาคต
สัตว์แต่ละพันธุ์
มีความต้องการการออกกำลังกาย
อาหาร และการดูแลแตกต่างกัน
ขนาดของสัตว์มิได้บ่งชี้ถึงความต้องการที่แท้จริงเสมอไป
เช่น สุนัขเล็กบางตัว
อาจต้องการการออกกำลังกายมากกว่าสุนัขที่ใหญ่กว่าก็ได้
สามารถแบ่งพันธุ์สัตว์ออกคร่าวๆ
ดังนี้ คือ
การเลือกเลี้ยงสัตว์พันธุ์แท้เจ้าของจะต้องเรียนรู้ถึงศักยภาย
และความต้องการของสัตว์
ตลอดจนอุปนิสัยและอารมณ์ที่สามารถเข้ากับผู้เลี้ยง
สุนัขพันธุ์แท้แต่ละพันธุ์จะมีลักษณะอุปนิสัยและความต้องการการดูแลเฉพาะตัว
สัตว์พันธุ์ทางมักจะฉลาด
ไม่ค่อยมีโรคหรือความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เท่ากับสัตว์พันธุ์แท้
เป็นสัตว์ที่เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แท้สองสายพันธุ์
มักเป็นสัตว์ที่ได้รับลักษณะเด่นจากพ่อและแม่
แหล่งที่คุณจะหาสัตว์เลี้ยงที่ดีมาเลี้ยงได้
การจะได้สัตว์ที่ดีและแข็งแรง
ปราศจากโรคมาเลี้ยงได้
ควรได้มาจากเพื่อนฝูง
หรือเพื่อนบ้าน
หรือจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เชื่อถือได้
ไม่ควรซื้อ
สัตว์เลี้ยงจากร้านค้า
หรือแหล่งที่เพาะพันธุ์ที่ไม่ทราบประวัติของสัตว์มาก่อน
การคัดเลือกสัตว์ที่มีลักษณะดีมาเป็นสัตว์เลี้ยงของคุณ
การคัดเลือกลูกสัตว์เพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
คือ
- ตามีประกายแจ่มใส
สีถูกต้องตามลักษณะ ไม่มีขี้ตา
ไม่มีอาการตาอักเสบหรือระคายเคือง
- ใบหูด้านในมีสีชมพู
ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสะเก็ด
ปราศจากไรในหูหรือความผิดปกติอื่น
ๆ
- ผิวหนังต้องไม่มันเยิ้มหรือแห้งเป็นสะเก็ด
ไม่มีแผลหรือก้อนนูนตามผิวหนัง
ขน แข็งแรง
ไม่ร่วงหลุดเวลาลูบตัว
- เหงือกมีสีชมพูและไม่มีกลิ่นปาก
การเรียงตัวของฟันสบกันพอดี
- บริเวณทวารหนักควรสะอาดและแห้ง
ไม่มีท้องเสียหรือสิ่งผิดปกติออกจากอวัยวะเพศ
- เมื่อยกตัวลูกสัตว์ขึ้น
ควรรู้สึกหนัก ไม่ดิ้นรน
ซึ่งอาจบ่งบอกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่ดีและเชื่อฟังคำสั่ง
|
การดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณ
การได้เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงสักตัวหนึ่งถือว่าเป็นการเติมคุณค่าและสีสรรให้แก่ชีวิตได้
เราจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ต้องมีความรับผิดชอบในการฝึกหัด
การให้อาหาร การดูแล
ตลอดจนการจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
ให้ความเป็นเพื่อนและความรู้สึกปลอดภัย
รวมถึงการทำความสะอาดและการดูแลสุขภาพ
สิ่งต่างๆ
เหล่านี้จะทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีสุขภาพจิตที่ดี
และเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักของคุณ
ได้ยาวนานเท่านาน
การนำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้านเป็นครั้งแรก
- ควรจัดให้มีบริเวณจำกัดให้อยู่ในห้องหรือกรง
ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเดินเกะกะทั่วไป
เพราะสัตว์จะทำการสำรวจบริเวณที่เข้าไปอยู่ใหม่
- ไม่ควรทิ้งสัตว์ไว้ตามลำพัง
จนเกิดอาการหวาดกลัว
- ควรจัดให้มีอาหาร น้ำ
ของเล่น
และที่รองนอนไว้ให้พร้อม
- ไม่ควรเปลี่ยนอาหารในระยะ
2-3 วันแรกของการเลี้ยง
- ควรให้สัตว์เลี้ยงใหม่ของท่านได้ทำความรู้จักกับสัตว์เลี้ยงเดิมที่ท่านมีอยู่ก่อน
- ทำบริเวณบ้านให้ปลอดภัย
เนื่องจากสัตว์เลี้ยงใหม่มักมีความอยากรู้อยากเห็นและชอบสำรวจสิ่งใหม่ๆ
จึงต้องระมัดระวังอันตรายของเครื่องใช้ไฟฟ้า
สวิตช์ไฟ
และเก็บของที่แตกง่ายให้พ้นจากสัตว์เลี้ยงใหม่ของท่าน
การฝึกภายในบ้าน
- การหัดให้ขับถ่ายบนกระดาษซึ่งสามารถฝึกหัดได้
เช่น ในลูกสุนัข
- การหัดให้ขับถ่ายนอกบ้าน
เช่น
ลูกสุนัขที่โตขึ้นต้องหัดให้ขับถ่ายนอกบ้าน
โดยพยายามให้ขับถ่ายห่างไกลออกจากตัวบ้าน
ควรทำความสะอาดทันที่ที่สัตว์ถ่ายเสร็จ
โดยใช้ถุงพลาสติกหรือที่โกยอุจจาระแล้วทิ้งในถังขยะให้มิดชิด
ทั้งนี้เพราะมีพยาธิ
หลายชนิดในสัตว์เลี้ยงที่สามารถแพร่ทางอุจจาระได้
จึงควรถ่ายพยาธิให้แก่สัตว์เลี้ยงของท่านเป็นประจำ
- การฝึกสุนัขควรเริ่มทำตั้งแต่สุนัขมีอายุประมาณ
8 สัปดาห์ขึ้นไป
การเล่นและการออกกำลังกาย
สัตว์เลี้ยงทุกเพศ
ทุกวัย
และทุกขนาดย่อมชอบที่จะเล่นด้วยกันเอง
หรือกับเจ้าของ
บางครั้งก็ชอบเล่นกับของเล่นที่เจ้าของได้จัดเตรียมไว้ให้
ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่มีกิจกรรมนี้
ก็อาจจะระบาย
พลังงานออกมาในรูปของการทำลายหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ปริมาณการออกกำลังของสัตว์แต่ละตัว
ขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ อายุ
และสุขภาพ
กรณีที่เจ้าของจัดของเล่นให้สัตว์เลี้ยง
ไม่ควรให้ของเล่นที่มีคุณภาพต่ำหรือมีขนาดเล็ก
จนสัตว์เลี้ยง สามารถกลืนได้
และไม่ควรใช้เศษเสื้อผ้าหรือรองเท้าทำเป็นของเล่นเพราะสัตว์อาจกัดแทะของใช้ชิ้นอื่นๆ
ที่มีกลิ่นเหมือนเสื้อผ้าหรือรองเท้าของเจ้าของ
การให้อาหาร
โภชนาการที่ดี คือ
การที่สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุล
ซึ่งจะส่งผลให้มีกระดูก
กล้ามเนื้อ แข็งแรง สุขภาพขนดี
หลักทั่วไปในการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง
มีดังต่อไปนี้ คือ
- อาหารสำเร็จรูปควรเลือกใช้ของบริษัทที่น่าเชื่อถือ
- ห้ามให้อาหารที่เสียแก่สัตว์เลี้ยง
- จัดน้ำสะอาดไว้ให้ตลอดเวลา
- ห้ามให้อาหารที่ใช้เลี้ยงแมวกับสุนัขเพราะมีโปรตีนสูงเกินไป
- อาหารที่ให้แก่สัตว์เลี้ยงควรมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง
- อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนผสมที่กินเหลือไม่ควรเก็บไว้ในมื้อต่อไป
- อาหารแห้งควรทิ้งวันต่อวัน
- ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของคุณอ้วนเกินไป
- ห้ามให้กระดูกที่เปราะแก่สัตว์เลี้ยง
เช่น การให้กระดูกไก่แก่สุนัข
- สัตว์เลี้ยงที่ไม่ยอมกินอาหารนานกว่า
24 ชั่วโมง
บ่งบอกถึงอาการเจ็บป่วย
ควรรีบนำไปรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยสัตวแพทย์
การดูแลขนและการอาบน้ำ
สัตว์ที่มีสุขภาพดีจะดูแลรักษาขนของตัวให้สะอาดอยู่เสมอ
แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากสัตว์มักจะวิ่งเล่น
กลิ้งถูไปตามพื้นและที่สกปรก
เจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องช่วยดูแลขนและอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง
อย่างสม่ำเสมอ สัตว์เลี้ยง เช่น
สุนัข ส่วนมากจะผลัดขน
ซึ่งอาจมีการผลัดขนอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
หรือผลัดขนปีละ 2 ครั้ง ตามฤดูกาล
แต่สุนัขบางพันธุ์ เช่น
พันธุ์พูเดิลจะไม่มีการผลัดขน
จึงจำเป็นต้องตัดขนให้เมื่อขนยาวมากเกินไป
สัตว์เลี้ยงควรได้รับการดูแลผิวหนังและแปรงขนอย่างสม่ำเสมอ
จะช่วยทำให้ผิวหนังและขน
อยู่ในสภาพดี
ขณะเดียวกันก็ต้องมีการอาบน้ำเพื่อกำจัดกลิ่นตัวของสัตว์เลี้ยง
และพยาธิภายนอกบางชนิด เช่น หมัด
เห็บ ไร สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข
ควรได้รับการอาบน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ
1 ครั้ง
ทำอย่างไรสัตว์เลี้ยงที่คุณรักจึงจะไม่เป็นโรค
สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพดีจะร่าเริง
แจ่มใส ไวต่อสิ่งแวดล้อม
กระตือรือร้น
แม้ว่าจะมีความสุขที่ได้นอนพักผ่อนตอนกลางวัน
แต่ก็พร้อมที่จะออกกำลังกายและเล่นกับเจ้าของอยู่เสมอ
เจ้าของสามารถตรวจสุขภาพของสัตว์เลี้ยงได้
ด้วยการหมั่นสังเกตท่าทางและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง
ในแต่ละวัน
จนทราบพฤติกรรมและท่าทางตามธรรมชาติของสัตว์เลี้ยง
หากเมื่อใดก็ตามที่สัตว์เลี้ยง
แสดงอาการ
หรือท่าทางที่ผิดปกติไปจากเดิม
เจ้าของก็สามารถบอกได้ทันที
เช่น สัตว์แสดงอาการซึม
กินอาหารน้อยลง
หรือแสดงพฤติกรรมและอาการผิดปกติ
การเลี้ยงสัตว์ที่ดีมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันการเกิดโรคต่างๆ
เพื่อสุขภาพที่ดีของสัตว์ดังมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
คือ
ควรนำลูกสัตว์ที่นำมาเลี้ยงใหม่มารับการตรวจร่างกายโดยสม่ำเสมอจากสัตวแพทย์
โดยเฉพาะใน ช่วงอายุ 2 เดือน 3
เดือน และ 4 เดือน ตามลำดับ
ทำการตรวจอุจจาระ
และถ่ายพยาธิแก่สัตว์เลี้ยงของคุณอย่างสม่ำเสมอ
ทุกๆ 3-6 เดือน
ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญให้ลูกสัตว์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจนครบถ้วน
และฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์เลี้ยงที่โตแล้วเป็นประจำทุกปี
ควรคำนึงถึงการให้อาหาร
ชนิดของอาหารและปริมาณของอาหารที่ให้
โดยสัตว์เลี้ยงของคุณควรได้รับสารอาหารครบถ้วน
ตามความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงอายุ
ควรให้สัตว์เลี้ยงของคุณออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงและสมบูรณ์ของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ควรพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปรับการฉีดวัคซีนและตรวจร่างกายทั่วไปเป็นประจำทุกปี
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ดูแลเอาใจใส่สถานที่อยู่ของสัตว์เลี้ยง
ให้มีความสะอาด
ปราศจากปรสิตภายนอก
หมั่นอาบน้ำและดูแลรักษาขนสัตว์เลี้ยงของท่านให้สะอาด
เรียบร้อยอยู่เสมอ
พยายามให้ความใกล้ชิด
เอาใจใส่และความรักแก่สัตว์เลี้ยงของคุณอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
หากพบความผิดปกติใด
ๆ ของสัตว์เลี้ยงของคุณ
ควรรีบพาไปรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาจากสัตวแพทย์
เอกสารอ้างอิง
- รสมา สุนทรธรรม 1997 (2540)
ระบบภูมิคุ้มกันและโปรแกรมการฉีดวัคซีนในลูกสัตว์
การรักษาทางอายุรกรรมในลูกสุนัขและแมว
หน้า 63-71
- Edney ATB, Hughes IB and Friedenberg KM. 1986. Vaccination,
worming, general hygiene and safety. In: Pet Care. Blackwell Scientific Publications.
London. p. 60-72.
- Hugh - Jones ME, Hubbert WT and Hagstad HV. 1995. Fungal,
Bacterial, Spirochaetal, and Rickettsial Zoonoses. In: Zoonoses. Iowa State University
Press, Ames. p.266-300.
|